ประวัติ กศน.ตำบลราวต้นจันทน์ เป็น กศน. ที่อยู่ภายใต้ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย อำเภอศรีสำโรง ตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 4 กรกฎาคม พ.ศ. 2543 เป็นการชั่วคราว สถานที่ ที่จัดการเรียนการสอน (พบกลุ่ม) จะนัดพบกลุ่มที่หมู่ที่ 5 บ้านวังไฟไหม้ ตำบลราวต้นจันทน์ โดยใช้อาคารหลังเก่าขององค์การบริหารส่วนตำบลราวต้นจันทน์ ซึ่งอาคารดังกล่าวตั้งอยู่ในเขตพื้นที่ของวัดวังไฟไหม้ เป็นอาคารก่ออิฐบล็อก ขนาดกว้าง -/-ยาวประมาณ 8-/-1 เมตร ประตูทางเข้ามี 2 ประตู ขนาดกว้าง 180 เซนติเมตร และหน้าต่างเป็นแบบบานเกร็ด ติดลูกกรงเหล็กดัด ทั้งสองด้านตามความยาวของอาคารอากาศไม่ถ่ายเท อับทึบ มืดโดยสภาพแล้วไม่พร้อมจะใช้งานเนื่องจากไม่มีหน่วยงานใดใช้ประโยชน์ ห้องน้ำ – สุขา ต่อเติมด้านข้างของอาคาร บริเวณที่ใช้พื้นที่มีทั้งหมด 200 ตารางวา มีการให้บริการ การศึกษาสายสามัญและจัดการเรียนรู้ตามอัธยาศัย บริการแนะแนวการศึกษาให้นักศึกษาและประชาชนต่อมาได้รับการอนุเคราะห์จากรองค์การบริหารส่วนตำบลราวต้นจันทร์ จนถึงปัจจุบัน
2. สถานที่ตั้ง...52 หมู่ 5....ตำบลราวต้นจันทร์ อำเภอศรีสำโรงจังหวัดสุโขทัย โทรศัพท์.71946435 โทรสาร.............................-.........................
E – mail ……chana.m2514@gmil.com
๓. ลักษณะอาคาร
เอกเทศอาศัยแต่มีสัดส่วนชัดเจน(ระบุ)..................................
อาศัยแต่ไม่มีสัดส่วนชัดเจน(ระบุ)....................................................
มีขนาด กว้าง................180............เมตร ยาว...............8...........เมตร สูง 8 เมตร
E – chana.m2514@gmil.com
ครู ศรฃ. -
บทบาทหน้าที่ภารกิจ กศน.ตำบล
กศน.ตำบล มีภารกิจที่สำคัญ ดังนี้1. จัดกิจกรรมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยให้กับประชาชนกลุ่มเป้าหมายในชุมชนอย่างน้อยปีงบประมาณละ 631 คน โดยจำแนกเป็นรายกิจกรรมดังนี้ บทบาทและภารกิจของ กศน. ตำบล เป็นหน่วยงานในสังกัด กศน.อำเภอ มีฐานะเป็นหน่วยจัดกิจกรรมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิตของประชาชนและการสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้ในชุมชน กศน.ตำบล มีภารกิจที่สำคัญ ดังนี้
1. จัดกิจกรรมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยให้กับประชาชนกลุ่มเป้าหมายในชุมชนอย่างน้อยปีงบประมาณละ 631 คน โดยจำแนกเป็นรายกิจกรรมดังนี้
1.1 การศึกษานอกระบบ 231 คน ประกอบด้วย
1.1.1การศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 50 คน
1.1.2 การศึกษาเพื่อพัฒนาอาชีพจำนวน 86 คน
1.1.3 การศึกษาเพื่อพัฒนาทักษะชีวิตจำนวน 30 คน
1.1.4 การศึกษาเพื่อพัฒนาสังคมและชุมชน
-โครงการการเรียนรู้การใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสม จำนวน 45 คน
1.1.5 กระบวนการเรียนรู้ตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง จำนวน 44 คน
1.2 การศึกษาตามอัธยาศัย จำนวน 300 คน
1.2.1 การศึกษาตามอัธยาศัย
-โครงการจัดสร้างแหล่งเรียนรู้ชุมชนในตำบล จำนวน 2 แห่ง
-โครงการส่งเสริมบ้านหนังสือชุมชน จำนวน 1 แห่ง
-โครงการบรรณสัญจร (Book Voyage II ) จำนวน 23 เล่ม
-โครงการชุมชนรักการอ่าน จำนวน 1 แห่ง
-โครงการจัดทำฐานข้อมูล กศน.ตำบล จำนวน 1 แห่ง
-กิจกรรมส่งเสริมการอ่าน จำนวน 300 คน
2.สร้างและขยายภาคีเครือข่ายเพื่อการมีส่วนร่วมในการจัดกิจกรรมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยในชุมชน
3.ส่งเสริมและสนับสนุนการจัดกิจกรรมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยในชุมชนของภาคีเครือข่าย ทั้งในแง่ของความเข็มแข็งและความต่อเนื่องในการมีส่วนร่วมและศักยภาพในการจัด
4. จัดทำระบบข้อมูล สถิติ และสารสนเทศ เกี่ยวกับประชากรกลุ่มเป้าหมายและผลการจัดกิจกรรมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย เพื่อใช้ในการวางแผนพัฒนาและแผนการจัดการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย ทั้งในระดับชุมชนหรือระดับจุลภาค ระดับอำเภอ ระดับจังหวัด และภาพรวมระดับประเทศของสำนักงาน กศน.
5. จัดทำแผนงาน โครงการการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยประจำปีงบประมาณ เพื่อจัดกิจกรรมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยให้กับประชาชนกลุ่มเป้าหมายและชุมชน และพัฒนาการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย ตามกรอบจุดเน้นการดำเนินงานของสำนักงาน กศน. สำนักงาน กศน.จังหวัด และ กศน.อำเภอ ที่สังกัดเพื่อการสนับสนุนงบประมาณจาก กศน.อำเภอ ที่สังกัด โดยในกรณีของการจัดกิจกรรมการศึกษาขั้นพื้นฐาน ให้ยึดค่าใช้จ่ายรายหัว ตามที่มติคณะรัฐมนตรีกำหนดคูณด้วย จำนวนนักศึกษา 65 คน สำหรับกิจกรรมอื่นๆนั้น จัดทำแผนงาน โครงการเพื่อเสนอของบประมาณให้ดำเนินการตามที่ได้รับมอบหมายจาก กศน.อำเภอ
6.ประสานและเชื่อมโยงการดำเนินการจัดกิจกรรมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยของศูนย์การเรียนรู้ชุมชนและภาคีเครือข่ายในตำบล โดยมีการประสานแผนการดำเนินงานภายในตำบลที่รับผิดชอบและ กับ กศน.อำเภอที่สังกัดตามกรอบจุดเน้นการดำเนินงานบนพื้นฐานของความเป็นเอกภาพ ด้านนโยบายและความหลากหลายในการปฎิบัติ
7. พัฒนาคุณภาพและมาตรฐานการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย ในความรับผิดชอบตามระบบประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา เพื่อรับรองการประกันคุณภาพภายนอก
ของ กศน.อำเภอ ที่สังกัด
8. รายงานผลการดำเนินงานการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย ต่อ กศน.อำเภอ ที่สังกัด ตามแผนหรือข้อตกลงที่กำหนดไว้
9. ปฏิบัติภารกิจอื่นๆที่ดีรับมอบหมายจาก กศน.อำเภอ สำนักงาน กศน.จังหวัด หรือ สำนักงาน กศน. และตามที่กฎหมายกำหนด.
คณะกรรมการ กศน.ตำบลราวต้นจันทน์
1 | นายวันชัย รอดพุ่ม | ประธานกรรมการ |
2 | นายใบ เซ็นหอม | กรรมการ |
3 | นางประจำ จันทร์คำนนท์ | กรรมการ |
4 | นายประโลม จันทร์เจาะ | กรรมการ |
5 | นายเสนาะ ปิ่นแก้ว | กรรมการ |
6 | นางชื่นชม จินดามณี | กรรมการ |
7 | นางสุรีลักษณ์ เกิดศิลป์ | กรรมการ |
8 | นายบรรเลง บุญทวี | กรรมการ |
9 | นายนิธิ เซ็นหอม | กรรมการ |
10 | นางมารี บุญญพันธ์ | กรรมการ |
11 | นางเคลื่อน นาคแย้ม | กรรมการ |
12 | นางธันย์ชนก มะลิวัลย์ | กรรมการ |
13 | นายสมชาย เกิดศิลป์ | กรรมการ |
14 | นางสาวรัชดาพร แก้วบุรี | กรรมการ |
15 | นายธีรพงศ์ พรมจินดา | กรรมการ |
16 | นายชนะ เมฆตานี | กรรมการและเลขานุการ |
อาสาสมัคร กศน. ตำบลราวต้นจันทน์
บุคลากร