เป้าประสงค์และตัวชี้วัดตามความสำเร็จ
เป้าประสงค์ | ตัวชี้วัด |
---|---|
1.ประชาชนผู้ด้อยพลาดและขาดโอกาสทางการศึกษารวมทั้งประชาชนทั่วไปได้รับโอกาสทางการศึกษาในรูปแบบการศึกษานอกระบบระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานการศึกษาต่อเนื่องและการศึกษาตามอัธยาศัยที่มีคุณภาพอย่างเท่าเทียมและทั่วถึงพร้อมทั้งสร้างและส่งเสริมให้มีนิสัยรักการอ่านเพื่อการแสวงหาความรู้ด้วยตนเองเป็นไปตามสภาพปัญหาและความต้องการของแต่ละกลุ่มเป้าหมายสร้างเสริมและปลูกฝังคุณธรรมจริยธรรมและความเป็นพลเมืองอันนำไปสู่การยกระดับคุณภาพชีวิตและเสริมสร้างความเข้มแข็งให้ชุมชนเพื่อพัฒนาไปสู่ความมั่นคงและยั่งยืนทางด้านเศรษฐกิจสังคมวัฒนธรรมประวัติศาสตร์และสิ่งแวดล้อม | 1. จำนวนผู้เรียนการศึกษานอกระบบระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานที่ได้รับการสนับสนุนค่าใช้จ่ายตามสิทฺธิที่กำหนดไว้ 2.จำนวนของคนไทยกลุ่มเป้าหมายต่าง ๆ ที่เข้าร่วมกิจกรรมการการเรียนรู้/ได้รับบริการกิจกรรมการศึกษาต่อเนื่องและการศึกษาตามอัธยาศัยที่สอดคล้องกบสภาพ ปัญหา และความต้องการ 3.ร้อยละของกำลังแรงงานที่สำเร็จการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนต้นขึ้นไป 4.จำนวนผู้รับบริการในพื้นที่เป้าหมายได้รับการส่งเสริมด้านการรู้หนังสือและการพัฒนาทักษะชีวิต 5.จำนวนนักศึกษาที่ได้รับบริการติวเข้มเต็มความรู้ 6.จำนวนประชาชนที่ได้รับการฝึกอาชีพระยะสั้น สามารถสร้างอาชีพเพื่อสร้างรายได้ 7.จำนวนประชากรที่ได้รับการฝึกอบรมภาษาต่างประเทศเพื่อการสื่อสารด้านอาชีพ 8.จำนวนผู้สูงอายุภาวะพึ่งพิงในระบบ Long Term Care มีผู้ดูแลที่มีสุขภาพและมาตรฐาน 9.ร้อยละของคะแนนเฉลี่ยผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติ การศึกษานอกระบบ (N-NET) ทุกรายวิชาทุกระดับ 10.ร้อยละของผู้เรียนที่ได้รับการสนับสนุนการศึกษาขั้นพื้นฐานเทียบกับค่าเป้าหมาย 11.ร้อยละของประชากรกลุ่มเป้าหมายที่ลงทะเบียนในทุกหลักสูตร/กิจกรรมการศึกษาต่อเนื่องเทียบกับเป้าหมาย 12.ร้อยละของผู้ผ่านการอบรม พัฒนาทักษะอาชีพระยะสั้นสามารถนำความรู้ไปใช้ในการประกอบอาชีพหรือพัฒนางานได้ 13.ร้อยละของผู้จบหลักสูตรหรือกิจกรรมที่สามารถนำความรู้ความเข้าใจไปใช้ได้ตามจุดมุ่งหมายของหลักสูตรหรือกิจกรรมการศึกษาต่อเนื่อง 14.ร้อยละของประชาชนที่ได้รับบริการมีความพึงพอใจต่อการบริการ/เข้าร่วมกิจกรรมการเรียนรู้การศึกษาตามอัธยาศัย 15.ร้อยละของประชาชนกลุ่มเป้าหมายที่ได้รับบริการหรือเข้าร่วมกิจกรรมที่มีความรู้ความเข้าใจหรือเจตคติ ทักษะตามจุดมุ่งหมายของกิจกรรมที่กำหนดของการศึกษาตามอัธยาศัย 16.ร้อยละของนักศึกษาที่มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนในวิชาที่ได้รับบริการติวเข้มเต็มความรู้เพิ่มสูงขึ้น 17.ร้อยละของผู้สูงอายุที่เป็นกลุ่มเป้าหมาย มีโอกาสเข้าร่วมกิจกรรมการศึกษาตลอดชีวิต |
2.ชุมชนและภาคีเครือข่ายทุกภาคส่วนร่วมจัดส่งเสริมและสนับสนุนการดำเนินงานการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยรวมทั้งการขับเคลื่อนกิจกรรมการเรียนรู้ของชุมชนตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงและปรัชญาคิดเป็น | 1.จำนวนภาคีเครือข่ายที่เข้ามามีส่วนร่วมในการจัด พัฒนา ส่งเสริมการศึกษา (ภาคีเครือข่าย : สถานประกอบการ องค์กร หน่วยงานที่มาร่วมจัด พัฒนา ส่งเสริมการศึกษา) 2.จำนวนประชาชนที่ได้รับการฝึกอาชีพระยะสั้น สามารถสร้างอาชีพเพื่อสร้างรายได้ 3.จำนวนประชากรที่ได้รับการฝึกอบรมภาษาต่างประเทศเพื่อการสื่อสารด้านอาชีพ 4.จำนวนผู้สูงอายุภาวะพึ่งพิงในระบบ Long Term Care มีผู้ดูแลที่มีสุขภาพและมาตรฐาน 5.ร้อยละของประชากรกลุ่มเป้าหมายที่ลงทะเบียนในทุกหลักสูตร/กิจกรรมการศึกษาต่อเนื่องเทียบกับเป้าหมาย 6.ร้อยละของประชาชนที่ได้รับบริการมีความพึงพอใจต่อการบริการ/เข้าร่วมกิจกรรมการเรียนรู้การศึกษาตามอัธยาศัย 7.ร้อยละของผู้สูงอายุที่เป็นกลุ่มเป้าหมาย มีโอกาสเข้าร่วมกิจกรรมการศึกษาตลอดชีวิต |
3.สถานศึกษาพัฒนาสื่อและเสริมทักษะเทคโนโลยีดิจิทัล เพื่อใช้ในการยกระดับคุณภาพการจัดการเรียนรู้ เพิ่มโอกาสการเรียนรู้ให้กับประชาชน สามารถคิด วิเคราะห์ ประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน ส่งเสริมการสร้างมูลค่าสินค้าผ่านศูนย์จำหน่ายสินค้าและผลิตภัณฑ์ออนไลน์ กศน. (ONIE Online Commerce Center – OOCC) รวมทั้งแก้ปัญหาและพัฒนาคุณภาพชีวิตได้อย่างเหมาะสม | 1.จำนวนประชาชนที่ผ่านการอบรมจากศูนย์ดิจิทัลชุมชน 2. จำนวนบทความเพื่อการเรียนรู้ตลอดชีวิตในระดับตำบลในหัวข้อมูล ต่าง ๆ 3. จำนวนหลักสูตรและสื่อออนไลน์ที่ให้บริการกับประชาชน ทั้งการศึกษานอกระบบระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน การศึกษาต่อเนื่องและการศึกษาตามอัธยาศัย 4. ร้อยละของประชากรกลุ่มเป้าหมายที่ลงทะเบียนในทุกหลักสูตร/กิจกรรมการศึกษาต่อเนื่องเทียบกับเป้าหมาย 5. ร้อยละของผู้ผ่านการอบรม พัฒนาทักษะอาชีพระยะสั้นสามารถนำความรู้ไปใช้ในการประกอบอาชีพหรือพัฒนางานได้ 6. ร้อยละของผู้จบหลักสูตรหรือกิจกรรมที่สามารถนำความรู้ความเข้าใจไปใช้ได้ตามจุดมุ่งหมายของหลักสูตรหรือกิจกรรมการศึกษาต่อเนื่อง 7. ร้อยละของประชาชนที่ได้รับบริการมีความพึงพอใจต่อการบริการ/เข้าร่วมกิจกรรมการเรียนรู้การศึกษาตามอัธยาศัย
|
4.บุคลากรของสถานศึกษาได้รับการพัฒนาเพื่อเพิ่มสมรรถนะในการปฏิบัติงานการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอย่างมีประสิทธิภาพและระบบการบริหารจัดการตามหลักธรรมาภิบาล | 1.จำนวน ครู กศน.ตำบล จากพื้นที่ กศน.ภาค ได้รับการพัฒนาศักยภาพด้านการจัดการเรียนการสอน 2.จำนวนบุคลากร กศน.ตำบลที่สามารถจัดทำคลังความรู้ได้ 3.ร้อยละ 80 ของผู้ใช้บริการพึงพอใจต่อการบริการข้อมูลและการจัดการศึกษาของสถานศึกษา 4.บุคลากรสามารถดำเนินตามระบบการประกันคุณภาพของสถานศึกษา 5. บุคลากร กศน.ตำบลเข้ารับการอบรมได้รับการพัฒนาเพื่อเพิ่มสมรรถนะในการปฏิบัติงาน 6.บุคลากร กศน.ตำบลสามารถนำความรู้ไปใช้พัฒนาองค์ความรู้และฐานข้อมูลได้ 7.บุคลากร กศน.ตำบลได้รับการพัฒนาเพื่อเพิ่มสมรรถนะในการปฏิบัติงานโดยใช้ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารในการจัดทำฐานข้อมูลชุมชนและการบริหารจัดการเพื่อสนับสนุนการดำเนินงาน การศึกษานอกระบบและการศึกษาอัธยาศัย |
กลยุทธ์ที่ 1 จัดการศึกษานอกระบบ และการศึกษาตามอัธยาศัย โดยชุมชนเป็นฐานแห่งการเรียนรู้
1) โครงการส่งเสริมการรู้หนังสือ
2) โครงการพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษานอกระบบระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน
3) โครงการพัฒนาคุณภาพผู้เรียน
--กิจกรรมอบรมเศรษฐกิจพอเพียง/ศึกษาเรียนรู้โครงการพระราชดำริฯ
-กิจกรรมพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสาระความรู้พื้นฐาน
-กิจกรรมอบรมคุณธรรมเพื่อพัฒนาทักษะชีวิตผู้เรียน
-กิจกรรมอบรมอาสายุวกาชาด(หลักสูตรพื้นฐาน)
-กิจกรรมอบรมอาสายุวกาชาด(หลักสูตรปฐมพยาบาล)
-กิจกรรมกีฬากศน.เกมส์/Tobenumberone
-กิจกรรมค่ายอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม/การจัดการขยะมูลฝอย
-กิจกรรมเรียนรู้ประวัติศาสตร์ชาติไทย
-กิจกรรมค่ายวิทยาศาสตร์STEM
- กิจกรรมเพศวิถีศึกษา
-ค่ายภาษาอังกฤษEnglishcamp
-กิจกรรมเรียนรู้ส่งเสริมประชาธิปไตย
-กิจกรรมเรียนรู้เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์พื้นฐาน
-กิจกรรมเรียนรู้อาเซี่ยน
-กิจกรรม กศน.อำเภอศรีสำโรง :หลอมดวงใจน้อมอาลัยพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช
-กิจกรรมค่ายวิทยาศาสตร์
4)โครงการศูนย์ฝึกอาชีพชุมชน
-1อำเภอ1อาชีพ
-กลุ่มสนใจ(ไม่เกิน30ชั่วโมง)
-ชั้นเรียนวิชาชีพ(30ชั่วโมงขึ้นไป)
- การขับเคลื่อนการดำเนินงานสุโขทัย เมื่อสุขภาพดี บนวิถีไทย
5)โครงการการจัดการศึกษาเพื่อพัฒนาทักษะชีวิต
-กิจกรรมเรียนรู้การใช้เทคโนโลยีในชีวิตประจำวัน
- กิจกรรมส่งเสริมการพัฒนาสุขภาวะของประชาชนทุกวัย(โรคติดต่อ/โรคไม่ติดต่อเรื้อรัง : ความดันสูง เบาหวาน ไขมัน)
- กิจกรรมให้ความรู้และป้องกันปัญหายาเสพติด
6) โครงการอบรมภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารด้านอาชีพ
7) โครงการจัดการศึกษาเพื่อพัฒนาสังคมและชุมชน
-กิจกรรมเรียนรู้ประชาธิปไตย
-กิจกรรมการอนุรักษ์พลังงานทรัพยากรธรรมชาติ สิ่งแวดล้อมวิสาหกิจชุมชน และเทคโนโลยีที่เหมาะสมการป้องกันผลกระทบและปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและภัยพิบัติธรรมชาติ
-กิจกรรมจิตอาสาและการสร้างชุมชนนักปฏิบัติ
8) ส่งเสริมการอ่านตามอัธยาศัย
-โครงการออกหน่วยบริการอำเภอ/จังหวัดเคลื่อนที่
-โครงการบ้านหนังสือชุมชน
-โครงการหน่วยบริการเคลื่อนที่(รถโมบาย)
-โครงการอาสาสมัครส่งเสริมการอ่าน(ตำบล)
9) ห้องสมุดประชาชนอำเภอศรีสำโรง
-โครงการมุมหนังสือน่าอ่าน
-โครงการส่งเสริมการอ่าน“นั่งที่ไหนอ่านที่นั่น”
-โครงการจัดนิทรรศการวันสำคัญต่างๆประจำปี
-โครงการจัดกิจกรรมวันเด็กแห่งชาติ
1.ร้อยละของกลุ่มเป้าหมายเข้ารับบริการการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานการศึกษาต่อเนื่องและการศึกษาตามอัธยาศัย
2.ร้อยละของกลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วมกิจกรรมสามารถอ่านออกเขียนได้และคิดเลขเป็นตามจุดมุ่งหมายของกิจกรรม
3.ร้อยละของผู้จบหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานแต่ละระดับมีผลสัมฤทธิ์การเรียนเฉลี่ย≥2.00
4.ร้อยละที่เพิ่มขึ้นของคะแนนเฉลี่ยผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติ(N-NET)
5.ร้อยละของกลุ่มเป้าหมายร่วมกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน
6.ร้อยละของกลุ่มเป้าหมายมีคุณลักษณะที่พึงประสงค์ตามจุดมุ่งหมายของหลักสูตร
7.ร้อยละของกลุ่มเป้าหมายผู้รับบริการการศึกษาเพื่อพัฒนาอาชีพสามารถนำความรู้ไปใช้พัฒนาอาชีพสร้างรายได้หรือการมีงานทำให้ตนเองและครอบครัวได้
8.ร้อยละของกลุ่มเป้าหมายเข้ารับบริการการศึกษาขั้นพื้นฐานการศึกษาต่อเนื่องและการศึกษาตามอัธยาศัยสามารถนำความรู้ไปใช้พัฒนาคุณภาพชีวิตได้
9.ร้อยละของกลุ่มเป้าหมายมีความพึงพอใจต่อการเข้าร่วมกิจกรรมการเรียนรู้ทุกกิจกรรม
10.จำนวนครั้งของการจัดบริการห้องสมุดเคลื่อนที่
11.จำนวนกิจกรรมส่งเสริมการเรียนรู้ตามอัธยาศัยต่อเดือน
กลยุทธ์ที่ 2 ประสานความร่วมมือกับแหล่งเรียนรู้ภูมิปัญญาและภาคีเครือข่ายทุกภาคส่วนให้มีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาและพัฒนา กศน.ตำบลให้เป็นศูนย์กลางในการจัดการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยรวมทั้งมีส่วนร่วมในการขับเคลื่อนกิจกรรมการเรียนรู้ของชุมชนตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงและปรัชญาคิดเป็น
1)โครงการการเรียนรู้หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
2)โครงการจัดสร้างแหล่งเรียนรู้ชุมชนในตำบล:จัดซื้อหนังสือพิมพ์/สื่อกศน.ตำบล
3)โครงการส่งเสริมความรู้ให้กับประชาชนเกี่ยวกับการคัดแยก การแปรรูป และการกำจัดขยะ
4) โครงการจัดกระบวนการเรียนรู้ชุมชนต้นแบบตามโครงการไทยนิยม ยั่งยืน
ตัวชี้วัดความสำเร็จ
1.ร้อยละ 80 ของกลุ่มเป้าหมาย มีความรู้ความเข้าใจในปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงและสามารถนำไปใช้ในการดำเนินชีวิต
2.ร้อยละ 80 ของผู้เข้าร่วมกิจกรรมมีความพึงพอใจต่อการจัดกิจกรรมอยู่ในระดับ ดีขึ้นไป
3. ร้อยละ 80 ของผู้รับบริการมีความพึงพอใจในการจัดการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยโดยภาคีเครือข่ายและภูมิปัญญาท้องถิ่นในระดับ ดี ขึ้นไป
4. ร้อยละ80ของผู้เข้าร่วมกิจกรรม มีความเข้าใจในเรื่องการเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการขยะมูลฝอย
5. ร้อยละ80ของผู้เข้าร่วมกิจกรรมมีความพึงพอใจต่อการจัดกิจกรรมอยู่ในระดับดีขึ้นไป
6. ร้อยละ 80 มีการดำเนินกิจกรรมเพื่อยกระดับชุมชนต้นแบบตามโครงการไทยนิยม ยั่งยืนตามเกณฑ์การพิจารณาคัดเลือก
7. ร้อยละ80 ของนักศึกษาและประชาชน มีความพึงพอใจต่อกิจกรรมอยู่ในระดับ ดี ขึ้นไป
กลยุทธ์ที่ 3 สถานศึกษาพัฒนาสื่อและเสริมทักษะเทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อใช้ในการยกระดับคุณภาพการจัดการเรียนรู้เพิ่มโอกาสการเรียนรู้ให้กับประชาชนสามารถคิดวิเคราะห์ประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันส่งเสริมการสร้างมูลค่าสินค้า ผ่านศูนย์จำหน่ายสินค้าและผลิตภัณฑ์ออนไลน์ กศน. (ONIE Online Commerce Center –OOCC) รวมทั้งแก้ปัญหาและพัฒนาคุณภาพชีวิตได้อย่างเหมาะสม
1) โครงการใช้เทคโนโลยีในการสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับสินค้า
ตัวชี้วัดความสำเร็จ
1. ร้อยละ 80 ของผู้เรียนสามารถ ประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน รวมทั้งแก้ปัญหาและพัฒนาคุณภาพชีวิตได้อย่างเหมาะสม
2. ร้อยละ 80 ขอผู้เรียนมีระดับความพึงพอใจในระดับดีขึ้นไป
กลยุทธ์ที่ 4 บุคลากรของสถานศึกษาให้ได้รับการพัฒนาเพื่อเพิ่มสมรรถนะในการปฏิบัติงานการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอย่างมีประสิทธิภาพและระบบการบริหารจัดการตามหลักธรรมาภิบาล
1)โครงการพัฒนาทักษะครูกศน.ต้นแบบโดยใช้กระบวนการ STEM ศึกษา
2) โครงการพัฒนารูปแบบและสื่อการจัดการเรียนการสอนภาษาอังกฤษของครู
3)โครงการกศน.ตำบล4G
4)โครงการพัฒนาระบบฐานข้อมูลเพื่อการบริหารจัดการตามหลักธรรมาภิบาล
5)โครงการพัฒนาบุคลากรเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการปฏิบัติงาน
6) โครงการกิจกรรมเรียนรู้หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
7) โครงการกิจกรรมเรียนรู้ประวัติศาสตร์ชาติไทย
8) โครงการกิจกรรมพัฒนาเทคนิคการจัดการเรียนการสอน
9) โครงการกิจกรรมพัฒนาการสร้างกระบวนการเรียนรู้ในรูปแบบ E-learning ,Google classroom ,
10)โครงการประชุมปฏิบัติการจัดทำรายงานการประเมินตนเองSAR
11)โครงการนิเทศภายในสถานศึกษา
ตัวชี้วัดความสำเร็จ
1.ร้อยละของบุคลากรในสถานศึกษาได้รับการพัฒนาเพื่อเพิ่มสมรรถนะในการปฏิบัติงานโดยใช้ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารในการจัดทำฐานข้อมูลชุมชนและการบริหารจัดการเพื่อสนับสนุนการดำเนินงานการศึกษานอกระบบและการศึกษาอัธยาศัย
2.สถานศึกษาสามารถดำเนินงานโครงการ/กิจกรรมตามบทบาทภารกิจที่รับผิดชอบได้สำเร็จตามเป้าหมายที่กำหนดไว้อย่างโปร่งใสตรวจสอบได้โดยใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่า/ตามแผนที่กำหนดไว้
3.สถานศึกษามีระบบประกันคุณภาพภายในและมีการจัดทำรายงานการประเมินตนเอง
4.กศน.อำเภอผ่านเกณฑ์การประเมินตามมาตรฐานกศน.อำเภอในระดับดีขึ้นไป
5.ร้อยละของผู้ใช้บริการพึงพอใจต่อการบริการข้อมูลและการจัดการศึกษาของสถานศึกษา