บ้านม่วง หมู่ที่ ๕
1. ประวัติความเป็นมาของชุมชน/หมู่บ้าน
บ้านม่วง แต่ดั้งเดิมเป็น อำเภอบ้านม่วง จังหวัดน่าน ปัจจุบันตั้งอยู่ในเขต ตำบลปง อำเภอปง จังหวัดพะเยา
อาณาเขต
ทิศเหนือ ติดต่อ บ้านหมุ้น หมู่ที่ 14
ทิศใต้ ติดต่อ บ้านห้วยสิงห์ หมู่ที่ 1
ทิศตะวันออก ติดต่อ แม่น้ำยม
ทิศตะวันตก ติดต่อ ติดกับแนวเขายาวกั้นอำเภอดอกคำใต้
3. ลักษณะภูมิประเทศ (ภูมิอากาศ/ฤดูกาล)
บ้านม่วง มีลักษณะพื้นที่ เป็นที่ราบลุ่ม มีแม่น้ำยมไหลผ่านทางทิศตะวันออกของหมู่บ้าน ทิศตะวัน
ตกเป็นภูเขาแนวยาว จรด บ้านหมุ้น หมู่ที่ 14 ถึง บ้านห้วยสิงห์ หมู่ที่ 1 ลักษณะอากาศโดยทั่วไป จะมี 3 ฤดู คือ ฤดูร้อน ฤดูฝน ฤดูหนาว ในช่วงฤดูร้อนอุณหภูมิ จะสูงปานกลาง ถึง สูงมาก ช่วงฤดูฝนจะมีฝนตกในปริมาณที่มากกว่าพื้นที่ทั่ว ๆ ไป ส่วนในช่วงฤดูหนาว อุณหภูมิจะลดลงมาก ทำให้อากาศหนาวเย็น ในตอนเช้าจะมีหมอกหนาปกคลุม และมีน้ำค้างเกาะตามใบหญ้า และพื้นที่โดยรอบทั่วไปมีต้นไม้นานาพันธุ์อยู่ในเทือกเขา และสัตว์อนุรักษ์
4. ลักษณะประชากร (อัตราความหนาแน่น/โครงสร้างประชากร)
จำนวนครัวเรือน 133 ครัวเรือน จำนวนประชากรทั้งหมด 477 คน แบ่งเป็นประชากรชาย จำนวน 226 คน ประชากรหญิง จำนวน 251 คน จำนวนครัวเรือนที่ตกเกณฑ์ 32 ครัวเรือน ผู้สูงอายุ จำนวน 66 คน ผู้พิการ จำนวน 6 คน แบ่งเป็นชาย จำนวน 3 คน เป็นหญิง จำนวน 3 คน
5. ลักษณะการประกอบอาชีพของชุมชน/หมู่บ้าน (เกษตร/อุตสาหกรรม/รับจ้าง ฯลฯ)
ชาวบ้านม่วง ประกอบอาชีพ ทำไร่ ทำนา ทำสวน รับราชการ และรับจ้างทั่วไป
. 5. รับราชการ ร้อยละ 5
6. ผลิตภัณฑ์มวลรวมของชุมชน/หมู่บ้าน
ผลผลิตจำหน่ายสู่ตลาด ภายในและภายนอกชุมชน ได้แก่ ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ข้าวนาปี ข้าวนาปรัง ถั่วลิสง ถั่วเขียว ไม้กวาด รายได้เฉลี่ยของประชากร 37,127 บาท/คน/ปี
7. ผลิตภัณฑ์ที่ น่าสนใจของชุมชน/หมู่บ้าน
เครื่องจักรสาน น้ำยาอเนกประสงค์
8. ศิลปวัฒนธรรม/ ภูมิปัญญาของชุมชน/หมู่บ้าน
อ่านค่าว หรือ เล่าค่าว จ้อย ฟ้อนเชิง ปั่นฝ้าย จักรสาน
9.สถานที่ท่องเที่ยว/บริการ
ร้านค้า 5 แห่ง สถานศึกษา 1 แห่ง สถานีอนามัย 1 แห่ง ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก 1 แห่ง
10. การคมนาคม (การเดินทางไปยังชุมชน/หมู่บ้าน)
สายปง – เชียงม่วน เส้นทางเดินทางเป็นถนนลาดยาง ตลอดเส้นทางไปมาสะดวก และ รวดเร็ว
11. ประเพณี/เทศกาลประจำปี
วัฒนธรรมประเพณีที่สำคัญ ได้แก่
1. วันสงกรานต์ วันที่ 13 – 16 เมษายน ซึ่งจะมีการจัดกิจกรรมเล่นสาดน้ำกัน และรดน้ำดำหัวผู้สูงอายุและการละเล่นตามวัฒนธรรมประเพณีแต่ดั้งเดิมต่าง ๆ และขนทรายเข้าวัด
2. ประเพณีแห่เทียนเข้าพรรษา ในช่วงเดือนกรกฎาคม
3. ประเพณีลอยกระทงในวันเพ็ญขึ้น 15 ค่ำ เดือนสิบสอง
4. บายศรีสู่ขวัญ สืบชะตา สวดเบิก สะเดาะเคราะห์ ฟังธรรมปีใหม่
5. เลี้ยงผีบรรพบุรุษ และเลี้ยงผีเจ้าที่เจ้าทาง
12. ทักษะฝีมือแรงงานของชุมชน/หมู่บ้าน
ช่างไม้ และ ช่างสี ช่างปูน ช่างศิลปกรรม ( ช่างวาดรูปภาพต่าง ๆ ) ช่างเชื่อม
13. อื่นๆ