Call Us

0654966768

Email Us

maechua.pongcity@gmail.com



บ้านค่าไพบูลย์ หมู่ที่ ๒

1. ประวัติความเป็นมาของชุมชน/หมู่บ้าน

          บ้านค่าไพบูลย์ หมู่ 2 ตำบลปง อำเภอปง จังหวัดพะเยา  เมื่อปี  พ.ศ.  2504  บ้านค่าไพบูลย์  หมู่ที่  2  เดิมชื่อหมู่บ้านต้องร้องป้าน  ขึ้นอยู่กับบ้านกองแล  หมู่ที่ 4   ต.ปง อ.บ้านม่วง จ.น่าน  และปี  พ.ศ.  2505 ได้ย้ายหมู่บ้านต้องร้องป้าน  มาตั้งถิ่นฐานอยู่บ้านสบขาน  และได้เกิดอุทกภัยน้ำท่วมอย่างหนัก  ซึ่งขณะนั้นมีนายใจ๋  ธนะจักร์  กับ  นายก๋อง  ใจสระ  มาตั้งถิ่นฐานบ้านเรือนอยู่  และได้เปลี่ยนชื่อเป็นบ้านค่าเรือน   ต่อมามี ท่านกำนันประสิทธิ์  พันธุ์ฟูจินดา  (กำนันหนู)  กับท่านอาจารย์วิฑูรย์  หมื่นจันทร์    ซึ่งขณะนั้นดำรงตำแหน่ง  ครูใหญ่โรงเรียนบ้านค่าเรือน  ได้เปลี่ยนชื่อเป็น  บ้านค่าไพบูลย์  หมู่ที่  4  ต.ปง  อ.ปง  จ.เชียงราย  และต่อมาปี พ.ศ.  2517  ได้เปลี่ยนจากบ้านค่าไพบูลย์  ต.ปง   อ.ปง   จ.เชียงราย  มาเป็นบ้านค่าไพบูลย์  ต.ปง   อ.ปง   จ.พะเยา  เป็นต้นมา

           อาณาเขต       ทิศเหนือ          ติดต่อ   บ้านบอน  หมู่ที่  7 และ บ้านร้องเอี่ยน หมู่ที่  8

                             ทิศใต้             ติดต่อ   บ้านเดื่อ  หมู่ที่  15

                             ทิศตะวันออก     ติดต่อ   เขตอุทยานแห่งชาติดอยภูนาง  เนื้อที่  666  ไร่

                             ทิศตะวันตก      ติดต่อ   บ้านม่วง  หมู่ที่  5  และบ้านหมุ้น  หมู่ที่  1

2. ลักษณะภูมิประเทศ (ภูมิอากาศ/ฤดูกาล)

บ้านค่าไพบูลย์  มีลักษณะพื้นที่  เป็นที่ราบสูง  มีภูเขาล้อมรอบ  ลักษณะอากาศโดยทั่วไป  จะมี  3  ฤดู 

คือ  ฤดูร้อน  ฤดูฝน  ฤดูหนาว  ในช่วงฤดูร้อนอุณหภูมิ  จะสูงปานกลาง  ถึง  สูงมาก   ช่วงฤดูฝนจะมีฝนตกในปริมาณที่มากกว่าพื้นที่ทั่ว  ๆ  ไป   ส่วนในช่วงฤดูหนาว อุณหภูมิจะลดลงมาก  ทำให้อากาศหนาวเย็น  ในตอนเช้าจะมีหมอกหนาปกคลุม   และมีน้ำค้างเกาะตามใบหญ้า  มีภูมิอากาศ  3  ฤดู  คือ

          Ø      ฤดูฝน             เริ่มตั้งแต่    เดือน  พฤษภาคม  ถึง  ตุลาคม

          Ø      ฤดูร้อน           เริ่มตั้งแต่    เดือน  มีนาคม    ถึง   เมษายน

          Ø      ฤดูหนาว          เริ่มตั้งแต่    เดือน  พฤศจิกายน  ถึง  กุมภาพันธ์

3. ลักษณะประชากร (อัตราความหนาแน่น/โครงสร้างประชากร)

          เนื้อที่ของหมู่บ้านทั้งหมดประมาณ  2,266ไร่  ใช้ทำการเกษตรประมาณ 1,500 ไร่ เป็นป่าชุมชน ประมาณ 666 ไร่เหลือเนื้อที่ของหมู่บ้านประมาณ 100ไร่ จำนวนครัวเรือน84  ครัวเรือนจำนวนประชากรทั้งหมด 342 คนแบ่งเป็นประชากรชายจำนวน 189 คน ประชากรหญิง จำนวน 153 คน จำนวนครัวเรือนที่ตกเกณฑ์  45 ครัวเรือน จำนวนผู้มีสิทธิ์เลือกตั้งทั้งหมด  294   คน

4. ลักษณะการประกอบอาชีพของชุมชน/หมู่บ้าน (เกษตร/อุตสาหกรรม/รับจ้าง ฯลฯ)

ชาวบ้านค่าไพบูลย์  ประกอบอาชีพ  ทำไร่  ทำนา  ทำสวน  และรับจ้างทั่วไป

  1.  ด้านเกษตรกรรม  คิดเป็นร้อยละ  95
  2. ด้านพาณิชย์  ร้อยละ  5
  3. ร้านค้าทั่วไป   5  แห่ง
  4. ค้าขายต่างจังหวัด  15   ครัวเรือน

5. ผลิตภัณฑ์มวลรวมของชุมชน/หมู่บ้าน

          รายได้เฉลี่ยของประชาชน 28,089 บาท/คน/ปี

6. ผลิตภัณฑ์ที่ น่าสนใจของชุมชน/หมู่บ้าน

          กล้วยฉาบอบเนย  มีด  เข่ง  สุ่ม  ตระกร้า  สุ่มไก่

7. ศิลปวัฒนธรรม/ ภูมิปัญญาของชุมชน/หมู่บ้าน

          การฟ้อนแบบประยุกต์

8. สถานที่ท่องเที่ยว/บริการ

          อ่างเก็บน้ำห้วยเซี๊ยะ 

9. การคมนาคม (การเดินทางไปยังชุมชน/หมู่บ้าน)

บ้านค่าไพบูลย์  การคมนาคมทางทิศเหนือ  ติดต่อบ้านร้องเอี่ยน  หมู่ที่  8   ตำบลปง   และบ้านบอน

หมู่ที่  7  ตำบลปง   ทิศใต้  ติดต่อ  กับบ้านเดื่อ  หมู่ที่  15  ตำบลปง  ทิศตะวันตก  ติดต่อกับ  บ้านม่วง  หมู่ที่  5  ตำบลปง   และบ้านหมุ้น  หมู่ที่  14  ตำบลปง  ทิศตะวันออก  ติดต่อกับ เขตป่าชุมชน  ซึ่งมีเนื้อที่  666   ไร่  กับเขตอนุรักษ์พันธุ์ป่าอุทยานแห่งชาติดอยภูนาง

10. ประเพณี/เทศกาลประจำปี

           วันสงกรานต์  วันที่ 13 – 16  เมษายน  ซึ่งจะมีการจัดกิจกรรมเล่นสาดน้ำกัน  และรดน้ำดำหัวผู้สูงอายุและการละเล่นตามวัฒนธรรมประเพณีแต่ดั้งเดิมต่าง ๆ  ประเพณีแห่เทียนเข้าพรรษา  ในช่วงเดือนกรกฎาคม  ประเพณีลอยกระทงในวันเพ็ญขึ้น  15  ค่ำ   เดือนสิบสอง ในเดือนเมษายน  จะมีพิธี  ไหว้ศาลเจ้าพ่อพรหมปัญญา  ,  เจ้าพ่อสายฟ้าแลบ  และพระเจ้าแก้ว

11. ทักษะฝีมือแรงงานของชุมชน/หมู่บ้าน

          ชาวบ้านค่าไพบูลย์ จะรวมตัวกันเป็นกลุ่มเพื่อทำผลิตภัณฑ์ชุมชน ซึ่งมีกลุ่มผลิตภัณฑ์  ดังนี้ ได้แก่ กลุ่มจักสาน  ผลิตภัณฑ์ได้แก่  ตะกร้า เข่ง สุ่มไก่  เป็นต้น กลุ่มตีเหล็ก  มีคณะทำงาน  12  คน กลุ่มช่างไม้ – ช่างปูน  กลุ่มแม่บ้านทำกล้วยฉาบ  มีคณะทำงาน  10   คน

12. อื่นๆ

          มีเงินกองทุนหมู่บ้าน  มีเงินกองทุนของ  คข.  ,  คจ.  มีเงินโครงการสนับสนุนปุ๋ยตามโครงการ  อบต.ปง  มีโครงการป่าไม้ชุมชน  (หม่อนดอกเอี้ยง)  มีเนื้อที่ประมาณ  666  ไร่