Call Us

-

Email Us

jiruspong@gmail.com

บทบาทหน้าที่ของหัวหน้า กศน. ตําบล

 ครู กศน.ตําบลเป็นผู้มีบทบาทสําคัญในการจัดการให้เกิดกระบวนการเรียนรู้ของคนในชุมชนอย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต ดังนั้น จึงมีบทบาทหน้าที่ที่สําคัญในการขับเคลื่อน กศน.ตําบล ดังกล่าวคือ

1. การวางแผนจัดการเรียนรู้ตลอดชีวิต โดยมีกระบวนการทํางาน ดังนี้

    1.1 ศึกษาสํารวจชุมชนโดยละเอียดเพื่อจัดทําฐานข้อมูลชุมชน ซึ่งประกอบด้วยข้อมูลประชากร จําแนกตามตามอายุเพศ อาชีพ ฯลฯ ข้อมูลเกี่ยวกับสภาพทางภูมิศาสตร์ ประวัติชุมชน ข้อมูลด้าน อาชีพ รายได้ข้อมูลทางสังคม ประเพณีวัฒนธรรม ภูมิปัญญาท้องถิ่น

    1.2 จัดทําเวทีประชาคมร่วมกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และหน่วยงานต่าง ๆ เพื่อร่วมกัน จัดทําแผนชุมชน ที่ระบุความต้องการในการพัฒนาชุมชนความต้องการการเรียนรู้ หรือการศึกษาต่อ ฯลฯ ของ ประชาชนในชุมชน

    1.3 จัดทําโครงการด้านการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยที่มาจากแผนชุมชนเสนอต่อศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย อําเภอเพื่อขอรับการสนับสนุน และประสาน ของความร่วมมือจากภาคีเครือข่าย

    1.4 ประสานงานแสวงหาความร่วมมือจากภาคีเครือข่าย องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ตลอดจน อาสาสมัครต่าง ๆ เพื่อร่วมจัดกิจกรรมการศึกษา ตามอัธยาศัยของชุมชนที่รับผิดชอบ

2. การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ของ กศน.ตําบล โดยจําแนกกิจกรรมการเรียนการสอน ดังนี้

    2.1 การส่งเสริมการรู้หนังสือ

    2.2 การจัดการศึกษาในหลักสูตรการศึกษานอกระบบรับการศึกษาขั้นพื้นฐาน

    2.3 การจัดการศึกษาต่อเนื่อง หลักสูตรระยะสั้นเพื่อการพัฒนาอาชีพ (วิชาทํามาหากิน) การพัฒนาทักษะชีวิต และการพัฒนาสังคมและชุมชน

    2.4 การจัดกิจกรรมส่งเสริมการอ่าน

    2.5 การจัดกิจกรรมการศึกษาเพื่อพัฒนาชุมชนเพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจ พอเพียง หรือการส่งเสริมวิสาหกิจชุมชน

ทั้งนี้ครู กศน.ตําบลจะมีบทบาทหลักเป็นผู้อํานวยความสะดวก (Facilitater) ให้กลุ่มเป็าหมาย ผู้รับบริการได้รับประสบการณ์การเรียนรู้ โดยมีกระบวนการทํางานคือ

    1) วางแผนการเรียนรู้ร่วมกับผู้เรียน ในแต่ละกิจกรรม/หลักสูตรเกี่ยวกับวิธีเรียน เวลา เรียน การใช้สื่อหรือแบบเรียน และการวัดผลประเมินผล

    2) ประสานงานเพื่อจัดหาวิทยากร หรือผู้สอนในแต่ละรายวิชาหรือแต่ละหลักสูตรร่วมกับ กศน.ตําบล และจัดส่งผู้เรียนไปเรียนรู้ตามแผนที่วางไว

    3) ให้คําปรึกษาแนะนํา และเป็นพี่เลี้ยงช่วยเหลือให้ผู้เรียนได้เรียนรู้อย่างมีประสิทธิภาพ รวมทั้ง คอยช่วยแก้ไขปัญหาในการเรียนและการสอนตลอหลักสูตร

    4) ประสานงานกับ กศน.อําเภอ เพื่อจัดหาสื่อและวัสดุอุปกรณ์เพื่อสนับสนุนการเรียนรู้ของ ผู้เรียนในแต่ละหลักสูตร

    5) ประสานงานกับ กศน. อําเภอ เกี่ยวกับการวัดผลและประเมินผลในแต่ละ หลักสูตร เพื่อให้ผู้เรียนบรรลุผลตามวัตถุประสงค์ของโครงการหรือจุดมุ่งหมายของหลักสูตร

    6) สรุปผลและรายงานผลการจัดกิจกรรมเรียนรู้ต่อ กศน.อําเภอ

 

3. การให้บริการการเรียนรู้ใน กศน.ตําบล โดยเฉพาะกิจกรรมศูนย์ข้อมูลข่าวสารของ ชุมชน ศูนย์บริการชุมชน ซึ่งนอกเหนือจากการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ เช่น

    3.1 กิจกรรมส่งเสริมการอ่าน และมุมห้องสมุดชุมชน

    3.2 การให้บริการสื่อการเรียนรู้ต่าง ๆ เช่น โทรทัศน์ วีดีทัศน์ รายการวิทยุเพื่อการศึกษา

                3.3 การประสานงานสนับสนุนศูนย์ซ่อมสร้างเพื่อชุมชน (Fit it Center) หรือช่างชนบท

4. การสนับสนุนกิจกรรมของชุมชน ทั้งด้านสังคม วัฒนธรรม ประเพณี รวมทั้งสนับสนุนการใช้ บริการของประชาชนในชุมชน เพื่อเป็นที่พบปะแลกเปลี่ยนเรียนรู้กันภายในชุมชน รวมทั้งสนับสนุนการจัด กิจกรรมขององค์กรหรือหน่วยงานภาครัฐอื่น และส่งเสริมการจัดตั้งกลุ่มหรือชมรมในชุมชน เช่น กลุ่มแม่บ้าน กลุ่มเยาวชน ชมรมผู้สูงอายุ ชมรมคุ้มครองผู้บริโภค สภาเด็กและเยาวชน และองค์กร นักศกึษา กศน. เป็นต้น

5. การสร้างเครือข่ายการเรียนรู้ในชุมชน โดยการประสานขอความร่วมมือจากภาคี เครือข่ายองค์กรชุมชน ผู้รู้ ผู้ทรงคุณวุฒิ ตลอดจนภูมิปัญญาท้องถิ่นเพื่อร่วมเป็นอาสาสมัคร กศน.อาสาสมัคร ส่งเสริมการอ่าน เป็นต้น