หัวข้อข่าว : ร่างนโยบายและจุดเน้น สำนักงาน กศน. 2565

1638173959 เข้าชม : 25,414 ครั้ง | ส่งข่าวนี้ไปที่


นโยบายและจุดเน้นการดำเนินงาน
สำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565
ยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี (พ.ศ. 2561 - 2580) ได้กำหนดแผนแม่บทประเด็นการพัฒนาศักยภาพคนตลอดช่วง
ชีวิต โดยมีแผนย่อยที่เกี่ยวข้องกับการใช้การศึกษาเป็นเครื่องมือในการขับเคลื่อนได้แก่ แผนย่อยประเด็นการพัฒนาการ
เรียนรู้ และแผนย่อยประเด็นการพัฒนาศักยภาพคนตลอดช่วงชีวิต ที่มุ่งเน้นการสร้างสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการพัฒนา
และเสริมสร้างศักยภาพมนุษย์ การพัฒนาเด็กตั้งแต่ช่วงการตั้งครรภ์จนถึงปฐมวัย การพัฒนาช่วงวัยเรียน/วัยรุ่น
การพัฒนาและยกระดับศักยภาพวัยแรงาน รวมถึงการส่งเสริมศักยภาพวัยผู้สูงอายุ ประเด็นการพัฒนาการเรียนรู้
ที่ตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงในศตวรรษที่ 21 และพหุปัญญาของมนุษย์ที่หลากหลาย ประกอบกับแผนการปฏิรูป
ประเทศด้านการศึกษา นโยบายรัฐบาลทั้งในส่วนนโยบายหลักด้านการปฏิรูปกระบวนการเรียนรู้ และการพัฒนาศักยภาพ
คนตลอดช่วงชีวิต และนโยบายเร่งด่วนเรื่องการเตรียมคนไทยสู่ศตวรรษที่ 21 ตลอดจนแผนพัฒนาประเทศอื่น ๆ
ที่เกี่ยวข้อง อาทิ แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 12 (พ.ศ. 2560 - 2568) นโยบายและแผนระดับชาติ
ว่าด้วยความมั่นคงแห่งชาติ (พ.ศ. 2562 - 2568) โดยคาดหวังว่าการพัฒนาศักยภาพคนตลอดช่วงชีวิต ประชาชนจะได้รับ
การพัฒนาการเรียนรู้ให้เป็นคนดี คนเก่งมีคุณภาพ และมีความพร้อมร่วมขับเคลื่อนการพัฒนาประเทศสู่ความมั่นคง มั่งคั่ง
และยั่งยืน และกระทรวงศึกษาธิการ ได้กำหนดนโยบายและจุดเน้น ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 ขึ้น เพื่อเป็น
เข็มมุ่งของหน่วยงานภายใต้กระทรวงศึกษาธิการ ขับเคลื่อนการดำเนินงานให้บรรลุตามวัตถุประสงค์ของแผนต่าง ๆ
ดังกล่าว
สำนักงาน กศน. เป็นหน่วยงานที่มีภารกิจในการจัดการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย ตระหนัก
ถึงความสำคัญของการพัฒนาคนตลอดช่วงชีวิต ได้มุ่งมั่นขับเคลื่อนภารกิจหลักตามแผนพัฒนาประเทศ และนโยบาย
และจุดเน้นของกระทรวงศึกษาธิการ ที่คำนึงถึงหลักการบริหารจัดการทั้งในเรื่องหลักธรรมาภิบาล หลักการกระจาย
อำนาจ การใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร การมุ่งเน้นผลสัมฤทธิ์ และปฏิบัติการด้านข้อมูล
ข่าวสาร การสร้างบรรยากาศในการทำงานและการเรียนรู้ ตลอดจนการใช้ทรัพยากรด้านการจัดการศึกษาอย่างมีคุณภาพ
โดยเน้นการพัฒนาคุณภาพการศึกษานอกระบบระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน การศึกษาต่อเนื่อง และการศึกษาตามอัธยาศัย
ใน 4 ประเด็นใหญ่ ประกอบด้วย การจัดการเรียนรู้คุณภาพ การสร้างสมรรถนะและทักษะคุณภาพ องค์กร สถานศึกษา
และแหล่งเรียนรู้คุณภาพ และการบริหารจัดการคุณภาพ อันจะนำไปสู่การสร้างโอกาสและลดความเหลื่อมล้ำ
ทางการศึกษา การยกระดับคุณภาพและเพิ่มประสิทธิภาพการให้บริการสำหรับทุกกลุ่มเป้าหมาย และสร้างความพึงพอใจ
ให้กับผู้รับริการ โดยได้กำหนดนโยบายและจุดเน้นการดำเนินงาน สำนักงาน กศน. ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 ดังนี้
หลักการ
กศน. เพื่อประชาชน “ก้าวใหม่ : ก้าวแห่งคุณภาพ”
นโยบายและจุดเน้นการดำเนินงาน สำนักงาน กศน. ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565
1. ด้านการจัดการเรียนรู้คุณภาพ
1.1 น้อมนำพระบรมราโชบายสู่การปฏิบัติ รวมทั้งส่งเสริมและสนับสนุนการดำเนินงานโครงการ
อันเนื่องมาจากพระราชดำริทุกโครงการ และโครงการอันเกี่ยวเนื่องจากราชวงศ์

1.2 ขับเคลื่อนการจัดการเรียนรู้ที่สนองตอบยุทธศาสตร์ชาติ และนโยบายของรัฐมนตรีว่าการ
และรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
1.3 ส่งเสริมการจัดการศึกษาเพื่อเสริมสร้างความมั่นคง การสร้างความเข้าใจที่ถูกต้อง
ในการปกครองระบอบประชาธิปไตย การเรียนรู้ที่ปลูกฝังคุณธรรมจริยธรรม สร้างวินัย จิตสาธารณะ อุดมการณ์
ความยึดมั่นในสถาบันหลักของชาติ การเรียนรู้ประวัติศาสตร์ของชาติและท้องถิ่น และหน้าที่ความเป็นพลเมืองที่เข้มแข็ง
รวมถึงการมีจิตอาสา ผ่านกิจกรรมต่าง ๆ
1.4 ปรับปรุงหลักสูตรทุกระดับทุกประเภท ทั้งหลักสูตรการศึกษานอกระบบระดับการศึกษา
ขั้นพื้นฐานและหลักสูตรการศึกษาต่อเนื่อง ให้สอดรับกับการพัฒนาคน ทิศทางการพัฒนาประเทศ สอดคล้องกับบริบท
ที่เปลี่ยนแปลง ความต้องการและความหลากหลายของผู้เรียน/ผู้รับบริการ รวมถึงปรับลดความหลากหลาย
และความซ้ำซ้อนของหลักสูตร เช่น หลักสูตรการศึกษาสำหรับกลุ่มเป้าหมายบนพื้นที่สูง พื้นที่พิเศษและพื้นที่ชายแดน
รวมทั้งกลุ่มชาติพันธุ์
1.5 ปรับระบบทดสอบ วัดผล และประเมินผล โดยเน้นการใช้เทคโนโลยีเป็นเครื่องมือให้ผู้เรียน
สามารถเข้าถึงการประเมินผลการเรียนรู้ได้ตามความต้องการ เพื่อการสร้างโอกาสในการเรียนรู้ ให้ความสำคัญกับ
การเทียบระดับการศึกษา และการเทียบโอนความรู้และประสบการณ์ พัฒนาระบบการประเมินสมรรถนะผู้เรียน
ให้ตอบโจทย์การประเมินในระดับประเทศและระดับสากล เช่น การประเมินสมรรถภาพผู้ใหญ่ ตลอดจนกระจายอำนาจ
ไปยังพื้นที่ในการวัดและประเมินผลการเรียนรู้
1.6 ส่งเสริมการใช้เทคโนโลยีในการจัดหลักสูตรการเรียนรู้ในระบบออนไลน์ด้วยตนเองครบวงจร
ตั้งแต่การลงทะเบียนจนการประเมินผลเมื่อจบหลักสูตร ทั้งการศึกษานอกระบบระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน การศึกษา
ต่อเนื่อง และการศึกษาตามอัธยาศัย เพื่อเป็นการสร้างและขยายโอกาสในการเรียนรู้ให้กับกลุ่มเป้าหมายที่สามารถเรียนรู้
ได้สะดวก และตอบโจทย์ความต้องการของผู้เรียน
1.7 พัฒนา Digital Learning Platform แพลตฟอร์มการเรียนรู้ของสำนักงาน กศน. ตลอดจน
พัฒนาสื่อการเรียนรู้ทั้งในรูปแบบออนไลน์และออฟไลน์ และให้มีคลังสื่อการเรียนรู้ที่เป็นสื่อที่ถูกต้องตามกฎหมาย
ง่ายต่อการสืบค้นและนำไปใช้ในการจัดการเรียนรู้
1.8 เร่งดำเนินการเรื่อง Academic Credit-bank System ในการสะสมและเทียบโอนหน่วยกิต
เพื่อการสร้างโอกาสในการศึกษา
1.9 พัฒนาระบบนิเทศการศึกษา การกำกับ ติดตาม ทั้งในระบบ On-Site และ Online รวมทั้ง
ส่งเสริมการวิจัยเพื่อเป็นฐานในการพัฒนาการดำเนินงานการจัดการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย
2. ด้านการสร้างสมรรถนะและทักษะคุณภาพ
2.1 ส่งเสริมการจัดการศึกษาตลอดชีวิต ที่เน้นการพัฒนาทักษะที่จำเป็นสำหรับแต่ละช่วงวัย
และการจัดการศึกษาและการเรียนรู้ที่เหมาะสมกับแต่ละกลุ่มเป้าหมายและบริบทพื้นที่
2.2 พัฒนาหลักสูตรอาชีพระยะสั้นที่เน้น New skill Up skill และ Re skill ที่สอดคล้องกับบริบท
พื้นที่ ความต้องการและความหลากหลายของกลุ่มเป้าหมาย เช่น ผู้พิการ ผู้สูงอายุ ความต้องการของตลาดแรงงาน และกลุ่ม
อาชีพใหม่ที่รองรับ Disruptive Technology

2.3 ประสานการทำงานร่วมกับศูนย์ให้คำปรึกษาการจัดตั้งธุรกิจ (ศูนย์ Start-up) ของอาชีวศึกษา
จัดอบรมหลักสูตรวิชาชีพระยะสั้นฐานสมรรถนะ ในทักษะอนาคต (Future Skills) ให้กับแรงงานที่กลับภูมิลำเนาในช่วง
สถานการณ์ COVID - 19
2.4 ยกระดับผลิตภัณฑ์ สินค้า บริการจากโครงการศูนย์ฝึกอาชีพชุมชน ที่เน้น “ส่งเสริมความรู้
สร้างอาชีพ เพิ่มรายได้ และมีคุณภาพชีวิตที่ดี” ให้มีคุณภาพมาตรฐาน เป็นที่ยอมรับของตลาด ต่อยอดภูมิปัญญาท้องถิ่น
เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่ม พัฒนาสู่วิสาหกิจชุมชน ตลอดจนเพิ่มช่องทางประชาสัมพันธ์และช่องทางการจำหน่าย
2.5 ส่งเสริมการจัดการศึกษาของผู้สูงอายุ เพื่อให้เป็น Active Ageing Workforce และมี Life skillในการดำรงชีวิตที่เหมาะกับช่วงวัย
2.6 ส่งเสริมการจัดการเรียนรู้เพื่อเตรียมความพร้อม/การปฏิบัติตัวสำหรับสตรีตั้งครรภ์และจัดกิจกรรมการเรียนรู้สำหรับแม่และเด็กให้เหมาะสมกับบริบทของชุมชนและช่วงวัย
2.7 ส่งเสริมการจัดการศึกษาที่พัฒนาทักษะที่จำเป็นสำหรับกลุ่มเป้าหมายพิเศษ เช่น ผู้พิการออทิสติก เด็กเร่ร่อน และผู้ด้อยโอกาสอื่น ๆ
2.8 ส่งเสริมการพัฒนาทักษะดิจิทัลและทักษะด้านภาษา ให้กับบุคลากรและผู้เรียน กศน. เพื่อรองรับการพัฒนาประเทศ รวมทั้งจัดทำกรอบสมรรถนะดิจิทัล (Digital Competency) สำหรับครูและบุคลากรทางการศึกษา
2.9 ส่งเสริมให้ความรู้ด้านการเงินและการออม (Financial Literacy) การวางแผนและสร้างวินัยทางการเงินให้กับบุคลากรและผู้เรียน กศน.
2.10 ส่งเสริมการสร้างนวัตกรรมของผู้เรียน กศน.
2.11 สร้าง อาสาสมัคร กศน. เพื่อเป็นเครือข่ายในการส่งเสริม สนับสนุนการจัดการศึกษาตลอดชีวิตในชุมชน
2.12 ส่งเสริมการสร้างและพัฒนานวัตกรรมของบุคลากร กศน. รวมทั้งรวบรวมและเผยแพร่เพื่อให้หน่วยงาน / สถานศึกษา นำไปใช้ในการพัฒนากระบวนกาเรียนรู้ร่วมกัน
3. ด้านองค์กร สถานศึกษา และแหล่งเรียนรู้คุณภาพ
3.1 ทบทวนบทบาทหน้าที่ของหน่วยงาน สถานศึกษา เช่น สถาบัน กศน.ภาค สถาบันการศึกษาและพัฒนาต่อเนื่องสิรินธร สถานศึกษาขึ้นตรง ศูนย์ฝึกและพัฒนาราษฎรไทยบริเวณชายแดน เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ
ในการขับเคลื่อนการจัดการศึกษาตลอดชีวิตในพื้นที่
3. 2 ยกระดับมาตรฐาน กศน.ตำบล และศูนยก์ ารเรียนชมุ ชนชาวไทยภูเขา “แมฟ่ า้ หลวง” (ศศช.)ให้มีความพร้อมเพื่อเป็นพื้นที่การเรียนรู้ตลอดชีวิตที่สำคัญของชุมชน
3.3 ปรับรูปแบบกิจกรรมในห้องสมุดประชาชน ที่เน้น Library Delivery เพื่อเพิ่มอัตราการอ่านและการรหู้ นงั สอื ของประชาชน
3.4 ให้บริการวิทยาศาสตร์เชิงรุก Science @home โดยใช้เทคโนโลยเี ป็นเครือ่ งมือนำวิทยาศาสตร ์สู่ชีวิตประจำวันในทุกครอบครัว
3.5 ส่งเสริมและสนับสนุนการสร้างพื้นที่การเรียนรู้ ในรูปแบบ Public Learning Space/Co - learning Space เพื่อการสร้างนิเวศการเรียนรู้ให้เกิดขึ้นสังคม
3.6 ส่งเสริมและสนับสนุนการดำเนินงานของกลุ่ม กศน. จังหวัดให้มีประสิทธิภาพ4. ด้านการบริหารจัดการคุณภาพ
4.1 ขับเคลื่อนกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิต ตลอดจนทบทวนภารกิจบทบาท
โครงสร้างของหน่วยงานเพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงตามกฎหมาย
4.2 ปรับปรุงกฎหมาย ระเบียบ คำสั่ง และข้อบังคับต่าง ๆ ให้มีความทันสมัย เอื้อต่อการบริหาร
จัดการ และการจัดการเรียนรู้ เช่น การปรับหลักเกณฑ์ค่าใช้จ่ายในการจัดหลักสูตรการศึกษาต่อเนื่อง
4.3 ปรับปรุงแผนอัตรากำลัง รวมทั้งกำหนดแนวทางที่ชัดเจนในการนำคนเข้าสู่ตำแหน่ง การย้าย โอน
และการเลื่อนระดับ
4.4 ส่งเสริมการพัฒนาบุคลากรทุกระดับให้มีความรู้และทักษะตามมาตรฐานตำแหน่งให้ตรงกับ
สายงาน และทักษะที่จำเป็นในการจัดการศึกษาและการเรียนรู้
4.5 เสริมสร้างขวัญและกำลังใจให้กับข้าราชการและบุคลากรทุกประเภทในรูปแบบต่าง ๆ เช่น ประกาศ
เกียรติคุณ การมอบโล่ / วุฒิบัตร
4.6 ปรับปรุงระบบการจัดสรรทรัพยากรเพื่อการศึกษาให้มีความครอบคลุม เหมาะสม เช่น การปรับ
ค่าใช้จ่ายในการจัดการศึกษาของผู้พิการ เด็กปฐมวัย
4.7 ปรับปรุงระบบฐานข้อมูลสารสนเทศด้านการศึกษาเพื่อการบริหารจัดการอย่างเป็นระบบ เช่น ข้อมูล
การรายงานผลการดำเนินงาน ข้อมูลเด็กตกหล่นจากการศึกษาในระบบและเด็กออกกลางคัน เด็กเร่ร่อน ผู้พิการ
4.8 ส่งเสริมการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเป็นเครื่องมือในการบริหารจัดการอย่างเต็มรูปแบบ
4.9 ส่งเสริมพัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐสู่ระบบราชการ 4.0 และการประเมินคุณภาพ
และความโปร่งใสการดำเนินงานของภาครัฐ (ITA)
4.10 ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่ายทุกภาคส่วน เพื่อสร้างความพร้อมในการจัดการศึกษา
นอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย และการส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิตสำหรับประชาชน
-------------------------------------------------
กลุ่มยุทธศาสตร์และแผนงาน สำนักงาน กศน.
26 ตุลาคม 2564


.