Call Us

042899494

Email Us

342ed000242@dei.ac.th



ปรัชญาสถานศึกษา

     “คิดเป็นเปนกระบวนการคิดเพื่อแก้ไขปัญหานำพาไปสู่ความสุขความสำเร็จ โดยใช้ข้อมูล ๓ ด้านมาประกอบการตัดสินใจ คือ ข้อมูลด้านวิชาการ ตนเองและสังคม ตัดสินใจและลงมือปฏิบัติถ้าสำเร็จก็มีความสุขถ้าไม่พอใจก็กลับไปทบทวนใหม่                                                                    

 

วิสัยทัศน์

     “ประชาชนอำเภอภูเรือได้รับโอกาสการศึกษาและการเรียนรู้ตลอดชีวิตอย่างมีคุณภาพ สามารถดำรงชีวิตที่เหมาะสมกับช่วงวัย สอดคล้องกับหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง และมีทักษะที่จำเป็นในโลกศตวรรษที่ 21”

 

อัตลักษณ์ สถานศึกษา  “ใฝ่เรียนรู้ คู่อาชีพ”

 

เอกลักษณ์  “ให้โอกาสทางการศึกษา ประสานการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่าย”

 

คำขวัญ “การเรียนรู้  ไม่มีวันสายเกินไป  ไม่ไกลเกินเอื้อม”

 

พันธกิจ

                   1) จัดและส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยที่มีคุณภาพ เพื่อยกระดับการศึกษา พัฒนาทักษะการเรียนรู้ของประชาชนทุกกลุ่มเป้าหมายให้เหมาะสมทุกช่วงวัย และพร้อมรับการเปลี่ยนแปลงบริบททางสังคม และสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้ตลอดชีวิต

                    2) ส่งเสริมสนับสนุน และประสานภาคีเครือข่าย ในการมีส่วนร่วมจัดการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย และการเรียนรู้ตลอดชีวิต รวมทั้งการดำเนินกิจกรรมของศูนย์การเรียนและแหล่งการเรียนรู้อื่นในรูปแบบต่างๆ

                   3) ส่งเสริมและพัฒนาการนำเทคโนโลยีทางการศึกษา และเทคโนโลยีดิจิทัลมาใช้ให้เกิดประสิทธิภาพในการจัดการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยให้กับประชาชนอย่างทั่วถึง

                   4) พัฒนาหลักสูตร รูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ สื่อและนวัตกรรม การวัดและประเมินผลในทุกรูปแบบให้สอดคล้องกับบริบทในปัจจุบัน

                   5) พัฒนาบุคลากรและระบบการบริหารจัดการให้มีประสิทธิภาพ เพื่อมุ่งจัดการศึกษาและการเรียนรู้ที่มีคุณภาพโดยยึดหลักธรรมาภิบาล

                   6) จัดระบบประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาให้เป็นส่วนหนึ่งของการบริหารจัดการของ กศน.อำเภอภูเรือ

กลยุทธ์

                 ประเด็นกลยุทธ์ มี  2 ประเด็น ประกอบด้วย

                      ประเด็นที่ 1. เข้าถึงกลุ่มเป้าหมายที่หลากหลายและทั่วถึง

          ประเด็นที่ 2. ปรับวิธีเรียน  เปลี่ยนวิธีสอน  ให้สอดคล้องกับสภาพและความต้องการของแต่ละกลุ่มเป้าหมาย

     กลยุทธ์

          กลยุทธ์ที่  1 เข้าถึงกลุ่มเป้าหมายที่หลากหลายและทั่วถึง

               ตัวชี้วัด

1.1 ฐานข้อมูลความต้องการการเรียนรู้ของกลุ่มเป้าหมายรายบุคคล และรายชุมชน
1.2 แผนการเรียนรู้ตามความต้องการการเรียนรู้ของกลุ่มเป้าหมายรายบุคคล และรายชุมชน
1.3 ระบบการให้บริการข่าวสารข้อมูลสารสนเทศแก่กลุ่มเป้าหมาย

 

    แนวทางการดำเนินงาน

               1.1 จัดกิจกรรมให้ประชาชนในพื้นที่  47 หมู่บ้าน  ให้ตระหนักและเห็นความสำคัญ ของการเรียนรู้ตลอดชีวิต

               1.2 กำหนดพื้นที่และกลุ่มเป้าหมายเพื่อเจาะลึกจัดกิจกรรม โดยดำเนินการทั้ง 6 ตำบล ตำบล ละ 1 หมู่บ้าน  เพื่อสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้โดยใช้ชุมชนเป็นฐานตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

               1.3 พัฒนาระบบฐานข้อมูล  ระบบสารสนเทศ  โดยจัดทำข้อมูลรายบุคคล  รายกลุ่ม  และเชื่อมโยงกับภาคีเครือข่ายเพื่อสามารถตรวจสอบให้เป็นปัจจุบันและนำไปใช้ได้

               1.4 มีฐานข้อมูลที่ระบุความต้องการ  ความพึงพอใจของผู้เรียน  ผู้รับบริการในพื้นที่เป้าหมาย

               1.5 จัดทำแผนการเรียนรู้รายบุคคล  รายครอบครัว  และรายกลุ่ม  ในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ทุกกิจกรรม

 

          กลยุทธ์ที่  2  ปรับวิธีเรียน  เปลี่ยนวิธีสอน  ให้สอดคล้องกับสภาพและความต้องการของ
                           แต่ละกลุ่มเป้าหมาย

            ตัวชี้วัด

                 2.1 มีหลักสูตรและสื่อที่พร้อมให้บริการแก่กลุ่มเป้าหมาย  รวมทั้งมีวิธีการและนวัตกรรมการเรียนการสอนที่เหมาะสมสอดคล้องกับสภาพและความต้องการของกลุ่มเป้าหมาย
                2.2 มีรายงานการประเมินผลการจัดการศึกษาของสถานศึกษาโดยเฉพาะผลสัมฤทธิ์ของผู้จบการศึกษาแต่ละหลักสูตร
                2.3 มีระบบการประเมินเทียบโอนความรู้และประสบการณ์ และการเทียบระดับการศึกษาให้กับกลุ่มเป้าหมายที่มีความพร้อมตรงกับเกณฑ์และวิธีการจัดการศึกษาเทียบระดับ
                2.4 มีระบบการประกันคุณภาพการศึกษา

               แนวทางการดำเนินงาน

                2.1 พัฒนาหลักสูตร สื่อ และกระบวนการเรียนรู้ให้สอดคล้องกับสภาพและความต้องการของกลุ่มเป้าหมาย  โดยคำนึงถึงการพัฒนาคุณภาพและมาตรฐาน เสริมสร้างความตระหนักในคุณค่าของปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ความสมานฉันท์ สันติวิธี และวิถีชีวิตประชาธิปไตย       
                2.2   เร่งพัฒนาการศึกษาในหมู่บ้านชุมชนที่ห่างไกลกันดาร  เพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษา  พัฒนาคุณภาพชีวิต  เพิ่มโอกาสในการทำงาน  และเสริมสร้างสมานฉันท์บนพื้นฐานความหลากหลายทางวัฒนธรรม
                2.3   จัดทำหลักสูตร สื่อ เครื่องมือวัดผล ประเมินผล เทคนิคกระบวนการจัดการเรียนรู้ จากหลักสูตรและกิจกรรมที่พัฒนาขึ้นเองและขององค์กร หน่วยงาน ชุมชน ตลอดจนภูมิปัญญาท้องถิ่น ที่เชื่อมโยงกับหลักสูตรของสถานศึกษา
                2.4   จัดกระบวนการเรียนรู้ที่หลากหลาย สอดคล้องกับความจำเป็นและความต้องการของกลุ่มเป้าหมายทั้งรายบุคคล  รายกลุ่ม  และรายชุมชน
                2.5  ประเมินผลการเรียนรู้ด้วยวิธีการที่หลากหลายโดยมุ่งเน้นการประเมินความรู้ ทักษะ เจตคติ และคุณธรรมจริยธรรมของผู้เรียน
                2.6   ส่งเสริมให้มีการเทียบโอนความรู้และประสบการณ์  เพื่อเป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาขั้นพื้นฐาน
                2.7   ส่งเสริมให้มีการประเมินเทียบระดับการศึกษาแก่ผู้สนใจอย่างกว้างขวาง
                2.8   พัฒนาระบบการประกันคุณภาพการศึกษาภายในและการประเมินคุณภาพภายนอก