หัวข้อข่าว : วิธีสังเกตอาการของคนเป็นไข้เลือดออก สาเหตุของโรคไข้เลือดออก พร้อมวิธีป้องกันโรคไข้เลือดออก

2021-12-18 23:50:00 เข้าชม : 25,326 ครั้ง | ส่งข่าวนี้ไปที่


“โรคไข้เลือดออก” โรคใกล้ตัวที่เกิดขึ้นบ่อยครั้งทั้งในเด็กและผู้ใหญ่ ด้วยสภาพอากาศค่อนข้างร้อนชื้นอย่างประเทศไทยยิ่งเอื้อต่อการเจริญเติบโตของยุงลายที่เป็นสาเหตุของโรคไข้เลือดออก จากสถิติกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข พบว่าในปี 2558 ซึ่งเป็นปีที่พบการระบาดของโรคไข้เลือดออกครั้งใหญ่ทั่วโลก ประเทศไทยมีผู้ติดเชื้อไข้เลือดออก 142,925 ราย ซึ่งมากกว่าปี 2557 ถึง 247% และปัจจุบัน จากการเฝ้าระวังของกรมควบคุมโรค สถานการณ์โรคไข้เลือดออกในปี 2563 ตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค.-8 ก.ค. 63 มีรายงานผู้ป่วยทั่วประเทศ 25,708 ราย เสียชีวิต 15 ราย

โดยความรุนแรงของการติดเชื้อขึ้นอยู่กับอายุ ภูมิคุ้มกัน และความรุนแรงของเชื้อ พูดกันมาถึงตอนนี้ ใครอยากรู้ว่าอาการของคนเป็นไข้เลือดออกมีอะไรบ้าง? ไข้เลือดออกมีกี่ระยะ สาเหตุของไข้เลือดออกคืออะไร และเราสามารถรับมือหรือมีวิธีป้องกันโรคไข้เลือดออกได้อย่างไร ไปดูกันเลย

 

สาเหตุของไข้เลือดออก

เชื่อว่าหลายคนคงรู้กันดีว่าสาเหตุของโรคไข้เลือดออกเกิดจากยุงลายตัวร้ายที่เป็นเป็นพาหะนำโรค โดยเฉพาะยุงลายตัวเมียที่ดูดเลือดของผู้ป่วยที่มีเชื้อไวรัสเดงกี่ จากนั้นไวรัสเดงกี่จะเติบโตภายในท้องของยุงลาย เมื่อยุงลายกัดคนอื่นต่อไป เชื้อไวรัสนี้ก็จะแพร่เข้าสู่ร่างกายผู้ที่ถูกกัดไปด้วยนั่นเอง

 

อาการของคนเป็นไข้เลือดออกมีอะไรบ้าง?

สำหรับอาการของคนเป็นไข้เลือดออก มักจะแสดงออกหลังจากได้รับเชื้อแล้วประมาณ 5-8 วัน โดยทั่วไปแบ่งอาการตามระดับความรุนแรงของโรค ผู้ป่วยส่วนใหญ่โดยเฉพาะเด็กและวัยรุ่นอาจไม่พบสัญญาณหรืออาการใด ๆ ของโรคไข้เลือดออกหากป่วยในระดับที่ไม่รุนแรง วันนี้ TIC ไทยประกันภัย ก็มีอาการมาให้เพื่อน ๆ ได้สังเกตกัน ดังนี้

  • ไข้สูงเฉียบพลัน ประมาณ 2-7 วัน
  • เบื่ออาหาร หน้าแดง ปวดศีรษะ
  • คลื่นไส้อาเจียนติดต่อกัน
  • มีอาการปวดท้องอย่างรุนแรง
  • หายใจลำบากหรือหายใจถี่
  • อุณหภูมิในร่างกายลดต่ำลงผิดปกติ
  • รับประทานอาหารไม่ได้ อ่อนเพลีย ดูซึมลง
  • รู้สึกหงุดหงิด สับสน หรือกระสับกระส่าย
  • บางรายอาจมีจุดเลือดสีแดงขึ้นตามลำตัว แขน ขา
  • อาจมีเลือดกำเดาออกหรือเลือดออกตามไรฟัน
  • ถ่ายอุจจาระดำเนื่องจากเลือดออก และอาจทำให้เกิดอาการช็อกได้
  • มีสัญญาณเริ่มต้นของอาการช็อก อย่างตัวซีดและเย็น รู้สึกกระสับกระส่าย


 

ไข้เลือดออกมีกี่ระยะ สังเกตได้อย่างไร

ระยะความอันตรายของไข้เลือดออก

ใครที่กำลังสงสัยว่าไข้เลือดออกมีกี่ระยะ ถ้าเกิดเราหรือคนใกล้ตัวเป็นขึ้นมา จะได้ประเมินสถานการณ์ได้ถูก ไปดูกันเลยว่าโรคไข้เลือดออกนี้มีกี่ระยะกันแน่

 

1. ระยะไข้สูง

  • มีไข้สูงแม้กินยาลดไข้ หรือเช็ดตัวแล้วไข้ก็ยังไม่ลด
  • เนื้อตัวและใบหน้า มักจะแดงกว่าปกติ
  • บางคนอาจมีอาการเยื่อบุตาอักเสบ หรือมีผื่นขึ้น
  • มีอาการคลื่นไส้ อาเจียน ปวดท้อง
  • อาจพบว่ามีจุดเลือดออกตามผิวหนัง เช่น มีจุด หรือมีเลือดกำเดาออก

 

2. ระยะวิกฤติ

  • หลังจากระยะไข้สูงระยะหนึ่งแล้ว ไข้จะลดลงอย่างรวดเร็ว ระยะนี้ใช้เวลาประมาณ 24-48 ชั่วโมง ขึ้นกับความรุนแรงของโรค
  • ในกรณีที่รุนแรงมาก ผู้ป่วยอาจเกิดอาการช็อกได้ ให้รีบนำตัวส่งโรงพยาบาลทันที

 

3. ระยะพักฟื้น

  • ในระยะนี้ ผู้ป่วยจะมีอาการโดยทั่วไปดีขึ้น เจริญอาหารมากขึ้น
  • ในบางรายจะพบผื่นตามร่างกาย ฝ่ามือ  ฝ่าเท้า เรียกว่าผื่นในระยะพักฟื้น
  • ปัสสาวะจะออกมากขึ้น ซึ่งถือว่ากำลังกลับสู่ภาวะปกติ โดยหมอจะหยุดการให้สารน้ำต่าง ๆ เพื่อป้องกันการแทรกซ้อนจากภาวะน้ำเกิน


 

วิธีป้องกันโรคไข้เลือดออก

รู้จักอาการของคนเป็นไข้เลือดออก และวิธีสังเกตระยะของโรคกันไปแล้ว ต่อไปมาดูกันว่าเราจะสามารถป้องกันยุงลายที่เป็นสาเหตุของไข้เลือดออก จากตัวเองและคนใกล้ตัวไม่ต้องเผชิญหน้ากับโรคไข้เลือดออกนี้ได้อย่างไร ซึ่งวิธีป้องกันโรคไข้เลือดออกทำได้ง่าย ๆ ดังนี้

 

วิธีป้องกันโรคไข้เลือดออก

 

1. กำจัดยุงลายที่เป็นพาหะนำโรค และเป็นสาเหตุของไข้เลือดออก

  • ภาชนะที่ใช้เก็บน้ำต้องมีฝาปิดให้มิดชิด
  • ใช้ทรายกำจัดลูกน้ำใส่ในภาชนะขังน้ำ
  • ทำลายภาชนะที่ไม่จำเป็น เพราะอาจมีน้ำขังได้
  • ปล่อยปลากินลูกน้ำ เช่น ปลาหางนกยูงในภาชนะที่มีน้ำขังขนาดใหญ่ เช่น อ่างบัว
  • เปลี่ยนน้ำในภาชนะเล็ก ๆ เช่น แจกันทุก 7 วัน
  • ปรับปรุงสิ่งแวดล้อมในบ้านและรอบบ้านให้เป็นระเบียบ

 

2. ป้องกันการติดเชื้อจากยุงลาย

  • ป้องกันตัวเองจากยุงลายด้วยการแต่งกายมิดชิด สวมเสื้อและกางเกงขายาวเมื่อออกนอกบ้าน
  • ฉีดสเปรย์หรือทายากันยุงที่สกัดจากพืชธรรมชาติ เช่น ตะไคร้หอม เปลือกส้ม สะระแหน่ หรือดาวเรือง ดาวเรือง ที่สามารถช่วยไล่ยุง และป้องกันตัวเองจากยุงลายได้
  • ติดมุ้งลวดที่ประตูและหน้าต่าง ตรวจเช็กความเรียบร้อยของประตู หน้าต่าง ผนังบ้าน ไม่ให้มีรูหรือช่องให้ยุงเข้ามาภายในบ้านได้

 

3. รับการฉีดวัคซีน

การฉีดวัคซีนเป็นอีกหนึ่งวิธีที่ช่วยป้องกันโรคไข้เลือดออกจากยุงลาย โดยวัคซีนนี้มีฤทธิ์ป้องกันการการติดเชื้อไวรัสเดงกี่ได้ทั้ง 4 สายพันธุ์ กำหนดให้ใช้ในกลุ่มผู้ที่มีอายุ 9-45 ปี และให้ฉีดทั้งหมด 3 ครั้ง แต่ละครั้งห่างกัน 6 เดือน ทั้งนี้ หลังฉีดวัคซีนอาจมีอาการข้างเคียงเล็กน้อย อย่างมีไข้ต่ำ ๆ มีห้อเลือด ปวดกล้ามเนื้อ ถึงแม้จะผ่านการรับรองความปลอดภัยแล้ว แต่แพทย์ไม่แนะนำให้กลุ่มคนต่อไปนี้รับวัคซีน Dengvaxia นะครับ

  • ผู้ที่มีอาการแพ้ส่วนประกอบใด ๆ ในวัคซีน หรือแพ้ยาชนิดอื่นที่มีส่วนประกอบเหมือนกัน
  • ผู้ที่มีภูมิคุ้มกันอ่อนแอ เช่น ผู้ติดเชื้อเอชไอวี ผู้ที่ได้รับยากดภูมิคุ้มกัน เป็นต้น
  • ผู้ที่มีไข้ระดับปานกลางจนถึงมีไข้สูง หรือผู้ที่มีอาการป่วยกะทันหัน ซึ่งควรเลื่อนการฉีดวัคซีนไปจนกว่าจะหายเป็นปกติ
  • ผู้หญิงที่กำลังตั้งครรภ์หรือให้นมบุตร รวมทั้งหากกำลังวางแผนตั้งครรภ์ ควรเว้นระยะตั้งครรภ์หลังจากได้รับวัคซีนนี้อย่างน้อย 1 เดือน

 

ส่วนใครที่มองหาตัวช่วยรับมือหากตกเป็นเหยื่อของโรคไข้เลือดออกแล้วล่ะก็ TIC ไทยประกันภัย ขอแนะนำ ประกันสู้ยุง Happy Fighter ให้คุณพร้อมรับมือกับค่ารักษาพยาบาล  ด้วยความคุ้มครองแบบใจ ๆ ที่พร้อมจ่ายค่ารักษาล่วงหน้าทันทีที่ตรวจพบ กับเบี้ยชิล ๆ ที่ใครก็เข้าถึงได้ เริ่มเพียง 290 บาท/ปี* แต่คุ้มครองสูงสุดถึง 100,000 บาท* และที่สำคัญสามารถทำประกันภัยโรคไข้เลือดออกนี้ได้ทุกอาชีพเลยนะ

TIC ไทยประกันภัย มีประกันภัยสุขภาพให้คุณได้เลือกตามต้องการ ไม่ว่าจะเป็น ประกันสุขภาพ Health Top Up ที่ให้ความคุ้มครองด้านสุขภาพอย่างครอบคลุม และ ประกันภัยสู้ยุง Happy Fighter สำหรับผู้ที่กังวลเรื่องไข้เลือดออกทั้งกับตัวเองและครอบครัวโดยเฉพาะ

สามารถติดตามข่าวสาร TIC ไทยประกันภัยได้ที่ Facebook พี่ช้างไทยประกันภัยเว็บไซต์ TIC ไทยประกันภัย,  LINE (ติดต่อซื้อประกันภัย) @Pchang, Call Center โทร. 0 2613 0123 (ทุกวัน ตลอด 24 ชั่วโมง), แจ้งอุบัติเหตุสายด่วน โทร. 1309

*เงื่อนไขเป็นไปตามที่บริษัทฯ กำหนด
**ผู้ซื้อควรทำความเข้าใจในรายละเอียดความคุ้มครองและเงื่อนไขก่อนตัดสินใจทำประกันภัยทุกครั้ง

 

แหล่งข้อมูล
ไข้เลือดออก


.