Call Us

042-891094

Email Us















ประวัติความเป็นมา กศน.อำเภอด่านซ้าย

 

           ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอด่านซ้าย สถานที่ตั้ง ถนนแก้วอาสาตำบลด่านซ้าย  อำเภอด่านซ้าย  จังหวัดเลย  42120  สถานภาพเป็นสถานศึกษาในราชการบริหารส่วนกลาง สังกัดศูนย์การศึกษานอกโรงเรียนจังหวัดเลย สำนักบริหารงานการศึกษานอกโรงเรียน สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ  จัดตั้งโดยกระทรวงศึกษาธิการ ประกาศจัดตั้ง  โดยอาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๒๕ แห่งพระราชบัญญัติ  ปรับปรุง  กระทรวง  ทบวง  กรม  พ.ศ.  2531  ข้อ 6 ประกาศ ณ วันที่  27  สิงหาคม  2536  ตามประกาศกระทรวงศึกษาธิการ  เรื่อง จัดตั้งศูนย์บริการการศึกษานอกโรงเรียนอำเภอ/กิ่งอำเภอ  โดยนายปราโมท  สุขุม  รัฐมนตรีช่วยว่าการฯ รักษาราชการแทนรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการเป็นผู้ลงนาม ห้องสมุดประชาชนอำเภอด่านซ้าย จัดตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2518
ในสมัย นายไพเวศน์   เศรษฐณัยน์ เป็นนายอำเภอด่านซ้าย ก่อตั้งโดยใช้อาคารอเนกประสงค์ของที่ว่าการอำเภอด่านซ้ายเป็นที่ทำการ (ในปัจจุบันเป็นร้านสวัสดิการข้าราชการและอาสาสมัคร) ต่อมาปี พ.ศ. 2519 กองการศึกษาผู้ใหญ่กรมสามัญได้อนุมัติเงินงบประมาณสมทบสร้างห้องสมุดประชาชนอำเภอด่านซ้ายเป็นเงิน  340,000 บาทและเงื่อนไขให้อำเภอสมทบอีก 55,000 บาท และได้มีสมาคมพ่อค้าและประชาชนอำเภอด่านซ้ายสมทบจำนวนเงิน  900,000  บาท ซึ่งห้องสมุดประชาชนอำเภอด่านซ้ายเป็นห้องสมุดอำเภอขนาดเล็กและได้ดำเนินการก่อสร้างแล้วเสร็จ เมื่อวันที่  4  พฤษภาคม  2522  หน่วยงานที่รับผิดชอบในขณะนั้นคือ  องค์การบริหารส่วน
จังหวัดเลย และสำนักงานการประถมศึกษาแห่งชาติ (ส.ป.ช)  เป็นผู้ดูแลจนถึงปี พ.ศ 2525   ต่อมาได้เปลี่ยนจากหน่วยงานเดิมจากองค์การศึกษาผู้ใหญ่กรมสามัญศึกษา  มาเป็นกองปฏิบัติการกรมการศึกษานอกโรงเรียน  มีเจ้าหน้าที่สังกัดกรมการศึกษานอกโรงเรียนเป็นหน่วยงานที่ ปัจจุบันมีบรรณารักษ์จ้างเหมาบริการเป็นผู้ดูแลและให้บริการ

 ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอด่านซ้าย เดิมใช้อาคารห้องสมุดประชาชนอำเภอด่านซ้าย  เป็นที่ทำการ   ต่อมาได้สร้างอาคารที่ทำการที่แยกตัวจากห้องสมุดประชาชนอย่างเป็นเอกเทศ  โดยรับความร่วมมือกับเครือข่ายทั้งภาครัฐและเอกชนในการก่อสร้างปรับปรุงโดยมี นายสุรศักดิ์  เพิ่มผล  ตำแหน่ง ผู้อำนวยการศูนย์บริการการศึกษานอกโรงเรียนอำเภอด่านซ้าย
ในขณะนั้น ศูนย์บริการการศึกษานอกโรงเรียนอำเภอด่านซ้าย  ได้เปลี่ยนชื่อเป็นศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอด่านซ้าย ตามประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่องบัญชีรายชื่อสถานศึกษาในสังกัดสำนักบริหารงานการศึกษานอกโรงเรียน สำนักปลัดกระทรวงศึกษาธิการ ที่มีความพร้อมในการปฏิบัติภารกิจของสถานศึกษา ตามพระราชบัญญัติส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยพ.ศ. 2551  ลงวันที่   10 มีนาคม 2551  ปัจจุบันมี นายกิตติพงษ์  โกษาจันทร์ ตำแหน่งผู้อำนวยการศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอด่านซ้าย

สภาพของชุมชน :

     เขตติดต่อ

          ทิศเหนือ            ติดต่อกับแขวงไชยบุรี (ประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว)
          ทิศตะวันออก     ติดต่อกับ
อำเภอภูเรือ อำเภอวังสะพุง และอำเภอภูหลวง (จังหวัดเลย)
          ทิศใต้               ติดต่อกับ
อำเภอหล่มเก่า อำเภอเขาค้อ (จังหวัดเพชรบูรณ์)
 และ
อำเภอนครไทย (จังหวัดพิษณุโลก)
          ทิศตะวันตก       ติดต่อกับอำเภอนครไทย (จังหวัดพิษณุโลก) และ
อำเภอนาแห้ว (จังหวัดเลย)

              ลักษณะภูมิประเทศ

             พื้นที่ประกอบด้วยภูเขาสลับซับซ้อน มีที่ระหว่างหุบเขาบางแห่งเป็นที่ราบสูง ลุ่มๆ ดอนๆ
โดยเฉพาะที่ตั้งอำเภอมีภูเขาขนาบอยู่ทั้งสามด้าน คือด้านทิศใต้ ทิศตะวันออก และทิศตะวันตกและมีที่ราบแคบ ๆ ยาวไปทางทิศเหนือ ซึ่งมีเทือกเขาอยู่ทั้งสองข้าง พื้นที่ทางทิศตะวันออก ทิศใต้และทิศตะวันตก มีภูเขาสูงมาก ภูเขาส่วนมากเป็นภูเขาดินและภูเขาทราย เฉลี่ยมีพื้นที่ราบประมาณ 20 เปอร์เซ็นต์ ของพื้นที่ทั้งหมด ระหว่างหุบเขามีที่ราบสำหรับทำนา ส่วนตามเชิงเขาเป็นที่ราบและที่
ลาดเหมาะสำหรับทำไร่ ปลูกพืชต่างๆ เช่น ข้าวไร่ ข้าวโพด ถั่วลิสง มันสำปะหลัง  แก้วมังกร ฝ้าย ฯลฯ และปลูกพืชยินต้น เช่นมะม่วง มะขาม ยางพารา เป็นต้น พื้นดินเป็นดินร่วนและดินปนทราย ตามภูเขามีป่าเบญจพรรณอยู่ทั่วไป

            ลักษณะภูมิอากาศ
          ในเขตอำเภอด่านซ้ายแบ่งออกได้ 3 ฤดู คือ
          ฤดูฝน ฝนตกชุกระหว่างเดือนมิถุนายน  ถึงเดือนตุลาคม ฤดูหนาว อากาศหนาวจัดตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน ถึง กุมภาพันธ์ บางปีอากาศหนาวจัด อุณหภูมิ ลดลง ถึง 0 องศา ฤดูร้อน อากาศร้อนจัดตั้งแต่เดือนมีนาคม ถึงเดือนพฤษภาคม

 

การแบ่งเขตการปกครอง
             การปกครองส่วนภูมิภาค
                  
อำเภอด่านซ้าย เป็นสังคมวัฒนธรรมเก่าแก่มาตั้งแต่โบราณมีการดำรงชีวิตแบบเรียบง่ายตามจารีตประเพณีฮีตสิบสองครองสิบสี่มีวัฒนธรรมสืบทอดมายาวนานได้แก่วัฒนธรรมประเพณีบุญหลวงและการละเล่นผีตาโขน แบ่งเขตการปกครองย่อยออกเป็น 10 
ตำบล 99 หมู่บ้าน 

             เอกลักษณ์

                    “ให้โอกาสทางการศึกษา ภาคีเครือข่ายให้ความร่วมมือ”
             อัตลักษณ์

                    “ใฝ่เรียนรู้ คู่วัฒนธรรม นำสู่อาชีพ ที่พอเพียง”