Call Us

Email Us

วิสัยทัศน์

ในปี พ.ศ.๒๕๖4  กศน.ตำบลห้วยปูลิง จัดการศึกษาขั้นพื้นฐานและการศึกษาตลอดชีวิตให้กับประชาชนทุกช่วงวัย ให้ได้รับการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยที่มีคุณภาพอย่างทั่วถึง เท่าเทียมและมีศักยภาพตามมาตรฐานที่กำหนด พร้อมกับการเรียนรู้เทคโนโลยี ภาษา เพื่อเตรียมความพร้อมสู่อาเซียนโดยดำเนินชีวิตตามหลักของปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

อัตลักษณ์

ใฝ่เรียนรู้ คู่คุณธรรม คงความเป็นวัฒนธรรมท้องถิ่น 

เอกลักษณ์

อนุรักษ์วัฒนธรรมท้องถิ่น

ปรัชญา

“จัดการศึกษาตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงและปรัชญาคิดเป็น”

จุดเน้น จุดเด่นการทำงานของ กศน.ตำบล

1. จุดเน้นการดำเนินงานโดยการจัดการศึกษาให้ชุมชนเป็นฐานแห่งการเรียนรู้ และสร้างโอกาสทางการศึกษาที่มีความเป็นธรรมให้กับประชาชนทุกกลุ่ม ได้แก่ผู้ด้อยโอกาส ผู้พลาด ผู้ขาดโอกาสทางการศึกษา

2. จุดเด่น การบริการจัดการเรียนรู้โดยใช้ กศน.ตำบลเป็นฐานแห่งการเรียนรู้เป็นศูนย์กลางประสานงานให้เกิดการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่ายในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ให้กับประชาชนในพื้นที่ โดยการพัฒนา กศน.ตำบลให้มีศักยภาพและพร้อมในการบริการให้กับประชาชน

พันธกิจ

        1. จัดกิจกรรมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย ให้ประชาชนกลุ่มเป้าหมายทุกกลุ่ม ทุกช่วงวัย มีโอกาสการเรียนรู้อย่างทั่วถึง

        2. จัดและส่งเสริมความรู้ พัฒนาทักษะการนำเทคโนโลยีทางการศึกษาเทคโนโลยีสารสนเทศ ให้กับนักศึกษาและประชาชน และนำสื่อเทคโนโลยีทางการศึกษา ETV ที่หลากหลายและมีคุณภาพมาใช้ในการจัดกระบวนการเรียนรู้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการจัดการศึกษา

        3. ส่งเสริม สนับสนุนภาคีเครือข่ายทุกภาคส่วนให้มีส่วนร่วมในการจัดกิจกรรมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย เพื่อตอบสนองความต้องการทางการศึกษาของประชาชนอย่างหลากหลาย

เป้าประสงค์

          1. ประชาชนผู้ด้อยพลาดและขาดโอกาสทางการศึกษาได้รับโอกาสทางการศึกษาในรูปแบบการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยที่มีคุณภาพอย่างทั่วถึงและเท่าเทียม

          2. กลุ่มเป้าหมายมีความรู้ ทักษะในการใช้สื่อเทคโนโลยีทางการศึกษาเทคโนโลยีสารสนเทศและแสวงหาข้อมูลความรู้ที่เป็นประโยชน์ในการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย

3. ชุมชนและทุกภาคส่วนร่วมเป็นภาคีเครือข่ายในการจัดส่งเสริมและสนับสนุนการดำเนินงานการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย

4. กศน.ตำบลเป็นศูนย์กลางในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยและเป็นแหล่งเรียนรู้ตลอดชีวิตของชุมชน

ตัวชี้วัด

          1. จำนวนกลุ่มเป้าหมายผู้ด้อยพลาดและขาดโอกาสทางการศึกษาที่ได้รับบริการการศึกษานอกระบบระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย

          2. จำนวนของคนแม่ฮ่องสอนในเขตอำเภอเมืองแม่ฮ่องสอน จำแนกตามกลุ่มเป้าหมายกลุ่มต่างๆ (ผู้ด้อยพลาดและขาดโอกาสทางการศึกษากลุ่มคนทั่วไปเป็นต้น) ที่เข้าร่วมกิจกรรมการเรียนรู้/ได้รับบริจาคกิจกรรมการศึกษาต่อเนื่องและการศึกษาตามอัธยาศัยที่สอดคล้องกับสภาพปัญหาและความต้องการ

          3. ร้อยละของผู้เรียนและผู้รับบริการที่มีผลสัมฤทธิ์ตามจุดมุ่งหมายการเรียนรู้ของแต่ละหลักสูตร/กิจกรรม

          4. ร้อยละของผู้ไม่รู้หนังสือที่ผ่านการประเมินการรู้หนังสือตามหลักสูตรส่งเสริมการรู้หนังสือ

          5. ร้อยละของชุมชนที่มีการจัดการความรู้และกระบวนการเรียนรู้อันเป็นผลเนื่องจากการเข้าร่วมกิจกรรมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย

          6. ร้อยละของชุมชนที่ใช้แหล่งเรียนรู้ชุมชนในการจัดกระบวนการเรียนรู้ในชุมชน

          7. จำนวนประชาชนกลุ่มเป้าหมายที่ได้รับการศึกษาอบรมในหลักสูตรภาษาอังกฤษภาษาจีนภาษาพม่า และภาษาอื่น ๆ ในกลุ่มประเทศอาเซียน

          8. ร้อยละของผู้รับการฝึกอบรมในหลักสูตรภาษาอังกฤษภาษาจีนภาษาพม่า และภาษาอื่น ๆในกลุ่มประเทศอาเซียน และอาเซียนศึกษาที่ผ่านเกณฑ์การประเมินตามหลักสูตร

          9. จำนวนกิจกรรม/หลักสูตรที่ใช้กระบวนการเรียนรู้ทางเทคโนโลยีที่เหมาะสมเป็นกระบวนการ/สาระในการเรียนรู้

          10. จำนวนองค์กรภาคส่วนต่างๆที่ร่วมเป็นภาคีเครือข่ายในการดำเนินงานการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย

          11. จำนวน/ประเภทของสื่อและเทคโนโลยีทางการศึกษาที่มีการนำไปใช้เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ของผู้เรียน/ผู้รับบริการการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย

          12. จำนวนนักเรียนนักศึกษาและประชนทั่วไปที่เข้าถึงบริการความรู้นอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยผ่านช่องทางสื่อเทคโนโลยีทางการศึกษาและเทคโนโลยีการสื่อสาร

          13. จำนวนบุคลากรขอสถานศึกษาได้รับการพัฒนาเพื่อเพิ่มสมรรถนะในการปฏิบัติงานการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย

          16. ร้อยละของ กศน.ตำบลและศูนย์การเรียนชุมชน ที่มีการใช้ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารในการจัดทำฐานข้อมูลชุมชนและการบริหารจัดการเพื่อสนับสนุนการดำเนินงานการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย

          17. ร้อยละของกศน.ตำบลและศูนย์การเรียนชุมชน ที่สามารถดำเนินงานโครงการ/กิจกรรมตามบทบาทภารกิจที่รับผิดชอบได้สำเร็จตามเป้าหมายที่กำหนดไว้อย่างโปร่งใสตรวจสอบได้โดยใช้ทรัพยากรอย่างประหยัด/ตามแผนที่กำหนดไว้